การศึกษาองค์ความรู้การรักษาโรคเบาหวานของหมอพื้นบ้านจังหวัดพะเยา

Main Article Content

ผาณิต ศรีสุทธะ
อรทัย เนียมสุวรรณ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันองค์ความรู้ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน ยังคงมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชนบท โดยเฉพาะการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้การรักษาโรคเบาหวานด้วยยาสมุนไพรของหมอพื้นบ้านจังหวัดพะเยา โดยศึกษารวบรวมข้อมูลภูมิหลังการเป็นหมอพื้นบ้าน หลักการและแนวทางการรักษารวมทั้งตำรับยาที่ใช้รักษา ทำการคัดเลือกหมอพื้นบ้านโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากการศึกษาพบข้อมูลหมอพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์จำนวน 5 คน เป็นเพศชายทั้งหมด มีอายุระหว่าง 68-90 ปี มีประสบการณ์ในการรักษาโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี มีแรงจูงใจในการเป็นหมอพื้นบ้านจากการเป็นทายาทผู้สืบทอด แนวคิดเกี่ยวกับโรคเบาหวานเกิดจากโรคหรืออาการ เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกระทบกับธาตุทั้งสี่ส่งผลให้ร่างกายขาดความสมดุล เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการรับประทานอาหารรวมถึงพันธุกรรม โดยกระบวนการการรักษาเริ่มจากการสอบถามอาการจากคำบอกเล่าของผู้ป่วย และทำการรักษาโดยการจ่ายยาในรูปแบบยาต้ม พบการใช้ยาตำรับจำนวน 6 ตำรับ ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งสิ้น 17 ชนิด ค่าดัชนีความแพร่หลายของการใช้ประโยชน์จากพืช (RFC) พบว่า พืชที่มีค่าดัชนีรายงานความแพร่หลายของการใช้ประโยชน์จากพืชมากที่สุดคือ รางจืด พืชในวงศ์ Acanthaceae มีค่า RFC เท่ากับ 0.60 จากข้อมูลพื้นฐานการทบทวนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรในตำรับแต่ละชนิด สามารถนำมาใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมในระดับสัตว์ทดลองและศึกษาในระดับคลินิก เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและประสิทธิผลรวมถึงความปลอดภัยของตำรับยารักษาโรคเบาหวานของหมอพื้นบ้านได้ในลำดับต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ