การพัฒนาวิธีการสกัดไพลด้วยวิธีการทอดแบบน้ำมันท่วม

Main Article Content

กรรณิการ์ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

สารสกัดน้ำมันไพลใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงยาแผนไทย ซึ่งมีสรรพคุณแก้ปวด แก้อักเสบของกล้ามเนื้อ ในการศึกษาครั้งนี้จึงทำการศึกษาเพื่อพัฒนาวิธีการสกัดไพลด้วยวิธีการทอดแบบน้ำมันท่วม และควบคุมคุณภาพโดยเปรียบเทียบระหว่างวิธีการสกัดไพลที่เตรียมด้วยวิธีการทอดแบบดั้งเดิมเป็นการทอดในกระทะและวิธีการทอดที่พัฒนาขึ้น คือ หม้อทอดไฟฟ้าควบคุมอุณหภูมิ พร้อมกับศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนของสารสกัดน้ำมันไพล และวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในสารสกัดน้ำมันไพลด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) ในการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสกัดไพล ได้ทำการทดลอง 4 วิธี ดังนี้ 1) การทอดแบบดั้งเดิม อุณหภูมิ <160 องศาเซลเซียส 2) การทอดด้วยหม้อทอดไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส 3) การทอดด้วยหม้อทอดไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส 4) การทอดด้วยหม้อทอดไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ผลการศึกษา พบว่า การสกัดไพลโดยใช้หม้อทอดไฟฟ้าที่ควบคุมอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส สามารถเตรียมสารสกัดน้ำมันไพลได้ %yield (ผลผลิตร้อยละ) มากที่สุด คือ 41.26 และที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส พบสาร phenylbutanoids (compound D + DMPBD) มากที่สุด 0.493+0.003 %w/w และ DMPBD มากที่สุด 0.225+0.001 %w/w และพบว่า ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส พบ compound D มากที่สุด 0.276+0.003 %w/w แต่ได้ DMPD น้อยที่สุด 0.201+0.000 %w/w จากการวิเคราะห์ต้นทุนของสารสกัดน้ำมันไพล พบว่า สารสกัดน้ำมันไพลจากการทอดแบบดั้งเดิมมีต้นทุนน้อยที่สุด กิโลกรัมละ 317.60 บาท สารสกัดน้ำมันไพลที่ได้จากการทอดด้วยหม้อทอดไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 80 100 และ 120 องศาเซลเซียส มีต้นทุนกิโลกรัมละ 461.91 บาท 463.20 บาท และ 460.20 บาท ตามลำดับ สรุปการพัฒนาวิธีการสกัดไพลด้วยวิธีการทอดแบบน้ำมันท่วมโดยใช้หม้อทอดไฟฟ้าควบคุมอุณหภูมิที่ 80 องศาเซลเซียส จะได้สารสกัดน้ำมันไพลที่มี %yield และมีปริมาณของสาร phenylbutanoids และ DMPBD สูงสุด

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ