ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • เยาวเรศ วิสูตรโยธิน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, เยาวชนในโรงเรียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของเยาวชนในสถานศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียน ทัศนคติของนักเรียนต่อการสูบบุหรี่ การรับรู้ของนักเรียนต่อพิษภัยของบุหรี่ ความคิดเห็นความต้องการเลิกบุหรี่ของนักเรียน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 27 โรงเรียนเป็นนักเรียน จำนวน 2,160 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มีนักเรียนเคยลองสูบบุหรี่ ร้อยละ 28 ส่วนใหญ่เคยลองสูบบุหรี่ครั้งแรก เมื่ออายุระหว่าง 12-13 ปี ช่วงอายุน้อยที่สุดที่เคยลองสูบบุหรี่ คือ น้อยกว่า 8 ปี ดังนั้นการปลูกฝังค่านิยมการไม่สูบบุหรี่ของเยาวชน ควรเริ่มตั้งแต่อายุน้อยๆ คือ ระดับประถมศึกษาตอนต้น วิธีการได้บุหรี่มาสูบคือซื้อจากร้านค้า ซึ่งขัดกับพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ที่ห้ามมิให้มีการขายบุหรี่แก่เยาวชนอายุน้อยกว่า 18 ปี สำหรับทัศนคติต่อบุหรี่ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควันบุหรี่ มีอันตรายต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ทัศคติต่อการเลิกบุหรี่ ครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่าเลิกไม่ยากอย่างแน่นอน เหตุผลสำคัญในการตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้น ดังนั้นประเด็นในการชักชวนเยาวชนให้เลิกบุหรี่น่าจะชูประเด็นในเรื่องสุขภาพ ความช่วยเหลือ เมื่อจะเลิกบุหรี่ ส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ดังนั้นการช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกบุหรี่ ควรมีสถานบริการที่สามารถให้บริการเลิกบุหรี่อย่างเพียงพอ และเน้นการมีส่วนร่วมสนับสนุนและให้กำลังใจจากบุคคลในครอบครัวและเพื่อน

References

กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ. คู่มือแนวทางการดำเนินงานเป้าหมาย ตัวชี้วัด การป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปีงบประมาณ 2548 แก่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 , สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2547 เอกสารอัดสำเนา

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. มาตรการในการควบคุมการบริโภคยาสูบ มกราคม 2548. เอกสารอัดสำเนา.

กัญจนา ศรีนวล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต(สุขศึกษา); 2536.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค่าและพัสดุภัณฑ์: 2546.

อรทัย ลิ้มตระกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.

ธานินทร์ สุธีประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม; 2544; 24

รัญจวน คำวชิรพิทักษ์ และวรนุช แหยมแสง. การป้องกันและควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคคลในวัยเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่. รายงานการศึกษาวิจัย สถาบันการควบคุมการบริโภคยาสูล. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ 2539.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์: 2546: 26-27.

ประกิจ วาทีสาธกกิจ. สถานการณ์และแนวโน้มการบริโภคยาสูบและมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบ; 2548. เอกสารอัดสำเนา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป