ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • บดินทร์ จักรแก้ว พ.บ. โรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, ไตวายเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่เขตกึ่งเมือง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอาเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ จานวน 520 คน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของประชากร และอัตราความชุก ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression กาหนดช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรัง ร้อยละ 34.42 และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยภาวะไตเรื้อรัง ร้อยละ 65.58 เมื่อทาการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า กลุ่มอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 70 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตเป็น 3.99 เท่า ของกลุ่มอายุน้อยกว่า 70 ปี (ORadj=3.99, 95%CI=2.61-6.08) ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตเป็น 1.84 เท่า ของผู้ป่วยที่มีระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานน้อยกว่า 10 ปี (ORadj=1.84, 95%CI=1.23-2.73) และผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือด HDL น้อยกว่า 35 mg/dL มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตเป็น 2.17 เท่า ของผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือด HDL มากกว่าหรือเท่ากับ 35 mg/dL (ORadj=2.17, 95%CI=1.28-3.68) ดังนั้นการคัดกรองที่รวดเร็ว เฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง ติดตามระยะความรุนแรงของภาวะไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่ดี จะสามารถชะลอภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานได้

References

กรอง จันทร์เปรมปรี. (2564). ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์กับโรคไตจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ของโรงพยาบาลด่านช้าง สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 18(3), 225-237. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10469

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2563 หนุนบทบาทพยาบาลร่วมสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงโรคเบาหวาน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=15591&deptcode=brc

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

เกตุแก้ว จันทร์จำรัส. (2558). การสำรวจความชุกและปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาเทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรวัฒน์ สีตื้อ. (2562). ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการทำงานของไตลดลง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองร่องซ้อ จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 27(2), 1-15. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/10448

จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ และธิดารัตน์ อภิญญา. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง. ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(2), 24-35. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/212897

ทักษพร ฝอดสูงเนิน. (2560). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการระบาด ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บัญชา สถิระพจน์. (2554). Diagnosis and management of diabetic nephropathy. เวชสารแพทย์ทหารบก. 64(1). 53-64.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ.2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf

สายฝน ม่วงคุ้ม, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, วัลภา คุณทรงเกียรติ และพรพรรณ ศรีโสภา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 82-93. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/96563

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2563). HDC: กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT, CVD) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

หทัย ธาตุทำเล. (2559). ผลการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลหนองหาน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 24(3), 196-205. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/175808

อัจจิมา กาญจนาภา. (2558). โรคไตจากเบาหวานกับวิธีการตรวจ. R&D NEWSLETTER, 22(4), 22-24. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www2.gpo.or.th/Portals/6/Newsletter/RDINewsYr22No4-6.pdf

อัจฉรา เจริญพิริยะ, อุดมศักดิ์ แซ้โง้ว และงามจิต คงทน. (2560). ความชุกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(1), 73-82. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/166559

Ali, B., & Gray-Vickrey, P. (2011). Limiting the damage from acute kidney injury. Nursing2022, 41(3), 22-31.

Zhang, Q. L., & Rothenbacher, D. (2008). Prevalence of chronic kidney disease in population-based studies: systematic review. BMC public health, 8(117), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30