การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้มีส่วนร่วมวิจัย คือ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 44 คน การดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน และ 3) ประเมินผล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลอาจารย์ แบบประเมินคุณภาพการจัดทำรายละเอียดวิชา แบบประเมินคุณภาพแผนการสอน แบบประเมินคุณภาพการสอน แบบประเมินคุณลักษณะของอาจารย์ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน 2557-กุมภาพันธ์ 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัย: 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบ ปัญหาของสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ 2) ระยะพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน ได้กระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน 3 วงจร เกี่ยวกับ (1) การจัดทำรายละเอียดวิชา (2) การจัดทำแผนการสอนคุณภาพ (3) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 และ (4) การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 3) ระยะประเมินผล พบว่า อาจารย์มีสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับ คุณภาพการจัดทำรายละเอียดวิชาระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100 คุณภาพแผนการสอนระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 92.45 และคุณภาพการสอนระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100 ส่วนสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนด้านคุณลักษณะพบว่า อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 100 และอาจารย์มีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาสมมรรถนะในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 92.52
สรุป: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นวิทยาลัยควรกำหนดนโยบายและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาสมรรถนะนี้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
References
McClelland DC. A competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber; 1975.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง สมรรถนะของข้าราชการ; 2548.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์; 2547.
มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์, อวยพร ตัณมุขกุล. สมรรถนะของอาจารย์พยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขสมรรถนะของอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2550;1(1):17-27.
Johnsen KO, Aasgaard HS, Wahl AK, Salminen L. Nurse educator competence: a study of Norwegian nurse educators’opinions of the importance and application of different nurse educator competence domains. J Nurs Educ 2002;41:295-301.
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. รายงานการประเมินตนเองด้านการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2555. มหาสารคาม: วิทยาลัย; 2555.
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. รายงานการประเมินตนเองด้านการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2556. มหาสารคาม: วิทยาลัย; 2556.
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. รายงานการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2558.มหาสารคาม: วิทยาลัย; 2559.
Kemmis S, McTaggart R (editors.). The action research planner. Victoria: Deakin University; 1988.
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. แบบประเมินสมรรถนะรายบุคคล. มหาสารคาม: วิทยาลัย; 2560.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน. คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน. นนทบุรี: ประชุมช่าง; 2553.
Bishop LJ. Staff development and instructional improvement: plans and procedures. Boston: Allyn and Bacon; 1979.
วิภาดา คุณาวิกติกุล. การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร 2558; 42(2):152-6.
นิศารัตน์ นาคทั่ง. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกของอาจารย์ใหม่ วิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคเหนือ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2560;12(1):29-40.
Swansburg RC, Swansburg LC. Nursing staff development: a component of human resource development. Boston: Jones and Bartlett; 1995.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency based learning. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์; 2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม