รูปแบบการติดตามผู้ป่วยยาเสพติดหลังการบำบัดแบบบูรณาการ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิตยา ฤทธิ์ศรี
  • ศุภลักษณ์ จันหาญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อหารูปแบบการการติดตามผู้ป่วยยาเสพติดหลังการบำบัด แบบบูรณาการของอำเภอเมืองมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้แนวคิดของ Kemmis และ Mctaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การวางแผนการปฏิบัติงาน 2) การลงมือปฏิบัติตามแผน 3) การติดตามสังเกตการณ์ และ4) การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ประชากรที่ศึกษารวม 140 คน ระยะเวลาวิจัย     ปี ตุลาคม 2557 – กันยายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบติดตามดูแลช่วยเหลือตามคำสั่ง คสช.ที่ 108/2557 แนวทางการสนทนากลุ่ม  แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ด้วยค่าจำนวน ร้อยละ

ผลการศึกษา : ปี 2557 ยังไม่มีรูปแบบและกระบวนการติดตามชัดเจน แต่ละหน่วยงานติดตามตามภาระงานตนเอง ผู้ป่วยได้รับการติดตาม ร้อยละ 52.19 และได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 34 ปี 2558 จัดให้มีการประชุมแกนนำในพื้นที่ สร้างความร่วมมือและการยอมรับในกระบวนการติดตามหลังการบำบัด เพื่อการหาแหล่งช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ผู้ป่วยได้รับการติดตาม ร้อยละ 92 และได้รับการช่วยเหลือร้อยละ 51.51 ปี 2559 ผู้ป่วยได้รับการติดตามและได้รับการช่วยเหลือทุกราย ได้รูปแบบการติดตามช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติด 3 รูปแบบโดยข้อมูลจากทุกรูปแบบเก็บไว้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นฐานข้อมูลตำบล จากการดำเนินงานตามรูปแบบที่ได้ส่งผลให้การติดตาม   ผ่านเกณฑ์การดำเนินงานตามเครื่องชี้วัดคุณภาพของกระทรวงสาธารณสุข

สรุป : กระบวนการติดตามแต่ละครั้งจะต้องมีการสร้างความเข้าใจ ของทั้งผู้ป่วยและญาติเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดี คงความต่อเนื่องและคุณภาพของกระบวนการติดตาม  ช่วยป้องกันการกลับไปเสพซ้ำรวมถึงโอกาสในการได้รับการช่วยเหลือจากแหล่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ : การติดตาม ,  ผู้ป่วยยาเสพติด

References

กลุ่มงานสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลมหาสารคาม. สรุปผลการดำเนินงานยาเสพติด . เอกสารอัดสำเนา . มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม ; 2559.

สำนักงานปราบปรามยาเสพติด. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558 – 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์; 2557.

Kemmis, S., & McTaggart, RThe Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University ; . 1988.

จังหวัดอ่างทอง. การติดตามและการเฝ้าระวังผู้มีปัญหา การใช้สารเสพติดในชุมชน. [20 เมษายน 2558]Available from : URL : 123.242.159.135/2558/images/ A_info/040857-2.ppt; 2558.

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. แนวทางการติดตามดูแล ช่วยเหลือผู้เข้าสู่กระบวนการการบําบัดรักษา. เอกสารอัดสำเนา. กรุงเทพมหานคร ; 2558.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ 1 หมอ 1 รพ.สต . เอกสารอัดสำเนา . กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-15