การสอบสวนการติดเชื้อ Vancomycin Resistant Enterococci (VRE) ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บุษฐกาญจน์ สาระรัตน์ธนโชติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: วันที่ 6 พฤศจิกายน 2559 เวลา 11.45 น. พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ (Infection Control Nurse - ICN) ได้รับแจ้งจากห้องปฏิบัติการว่ามีผู้ป่วย 1 ราย ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม Hemoculture (H/C) พบเชื้อ Vancomycin Resistant Enterococci (VRE) โดยได้เฝ้าระวังการติดเชื้อ ร่วมกับพยาบาลประจำหอผู้ป่วยและวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.15 น. ICN ได้รับแจ้งจากห้องปฏิบัติการว่ามีผู้ป่วยอีก 1 ราย ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม Hemoculture พบเชื้อ VRE จึงดำเนินการสอบสวนโรคร่วมกับทีม ICN และพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของเชื้อ VRE และศึกษาลักษณะของเชื้อ สาเหตุ การแพร่กระจายของเชื้อ รวมทั้งหามาตรการในการควบคุมและป้องกันที่จำเพาะของการระบาดของเชื้อ VREในโรงพยาบาล

วิธีดำเนินการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทบทวนข้อมูลย้อนหลังจากการสอบสวนการติดเชื้อ VRE ในผู้ป่วย 2 ราย ของหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อ VRE และวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการระบาด

ผลการสอบสวน: พบว่ามีการระบาดในผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ซึ่งมีอาการของการติดเชื้อ Enterococcus faecium ในร่างกาย โดยมีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การสัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ สิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนเชื้อ การได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพเป็นเวลานาน เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต นอกจากนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงด้านผู้ป่วย ได้แก่ มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ให้การรักษาด้วย Corticosteroids, ให้อาหารทางสายยาง, ได้รับการผ่าตัด, ใส่คาสายสวนปัสสาวะ และการเจ็บป่วยที่รุนแรง

สรุปผลการสอบสวน: พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อ Enterococcus faecium VRE ในกระแสโลหิต 2 ราย และเสียชีวิต โดยไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของเชื้อได้ชัดเจน สรุปได้จากวิธีการแพร่เชื้อซึ่งเกิดจากการสัมผัสผู้ป่วยที่   ติดเชื้อ การสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อ และปัจจัยเสี่ยงอื่น คือ การไม่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต

คำสำคัญ: การสอบสวน, เชื้อ VRE (Vancomycin Resistant Enterococci)

References

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ใน ระบาดวิทยาและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล . เชียงใหม่ :โรงพิมพ์มิ่งเมือง ; 2556 : 243-245.

Siegel JD, Rhinehart E, Jackson M, Chiarello L&The Heatthcare Infection Comtrol Practices Advisory Committee. Management of Multidrung-Resistant Organisms in Health Care Setting,2006.Atlanta:CDC.

ลักขณา ไทยเครือ. รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา ใน คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ (บรรณาธิการ). พื้นฐานการระบาดวิทยา: Basics of Epidemiology. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี , สมาคมนักระบาดวิทยาภาคสนาม ; 2559 : 52-55.

กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ, สำนักปลัดกระทรวง สาธารณสุข. มาตรการสำคัญในการจัดการการดื้อยา ต้านจุลชีพในสถานพยาบาลในแนวทางการจัดการ การดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลนนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข ; 2559 : 7-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-15