ความต้องการและระดับความต้องการด้านสวัสดิการทางสังคม เศรษฐกิจและสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชนบท ประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความต้องการและระดับความต้องการด้านสวัสดิการทางสังคม เศรษฐกิจและสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชนบท ของประเทศไทย
วิธีดำเนินการวิจัย :เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ประชากรศึกษา คือ ผู้สูงอายุในเขตตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สื่อสารเข้าใจและตอบแบบสอบถามได้ จำนวน 320 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิตที่ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา : กลุ่มศึกษา 320 คนส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.56 มีความต้องการและระดับความต้องการรวมทุกด้านในระดับมาก (=4.35, SD = 0.91) โดยมีความต้องการรายด้านโดยรวมในระดับมากได้แก่ สวัสดิการทางสังคม (=4.35, SD = 0.91) เศรษฐกิจ ( =4.21, SD = 0.96) สุขภาพอนามัย ( = 4.43, SD = 0.80) ขนบธรรมเนียมประเพณี ( = 4.27, SD = 0.99) การศึกษา ( = 4.20, SD = 0.96) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( = 4.35, SD = 0.91) ส่วนด้านความเป็นอยู่มีความต้องการระดับมากที่สุด (=4.65, SD = 0.71)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชนบทของประเทศไทยมีความต้องการทุกด้านในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยเปราะบางที่ต้องการการช่วยเหลือในทุกๆด้าน สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และบุคลากรทางด้านสุขภาพ ควรมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
คำสำคัญ : การดูแลผู้สูงอายุ, สุขภาพอนามัย, สวัสดิการทางสังคม
References
วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้ง2. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2558.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง ; 2560.
Hofmarcher, M.M., Oxley H, Rusticelli E. Improved Health System Performance through better Care Coordination(Internet), ; 2007 (cited 2018 Jan 10) Available from : http://www.oecd-ilibrary.org/social-issues-migration-health/improved-health-system-performance-through-better-care-coordination_246446201766;2007
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (2545 - 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงในชีวิตมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์ ; 2552.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. จำนวนประชากรแยกรายอายุ ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนธันวาคม 2560 ; 2560. (ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2560) ค้นจากhttp://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.
ทวีศักดิ์ จินดากาศ. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดูแลผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. สารนิพนธ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รป.ม. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยพะเยา . พะเยา ; 2557.
ศศินันท์ วาสิน,สมชาย สุขอารีย์ชัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน หมู่1 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์ ; 2556 : 7 (3) 226-237.
Yamane, T. Statistic: an introduction analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row. 1970.
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2559; 28(3): 68 – 83.
พรทิพย์ สารีโส และคณะ. สถานการณ์ ปัญหหาสุขภาพและความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง: เขตเทศบาลเมืองเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ; 2560 : 40 (2) 85 – 95.
กาญจนา ปัญญาธร. การดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัวบ้านหนองตะไก้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ; 2557: 32 (4) 33 – 39.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ 2546. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์ , 2553.
สำนักนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 12 และคณะ. รายงานวิจัยการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย. สงขลา: ไอคิวมีเดีย ; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม