การสอบสวน : กรณีศึกษาการติดเชื้อ Chromobacterium violaceum ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิงโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พรหมจรรย์ ปาปะขี
  • นงเล็ก แก้วมะไฟ
  • บุษฐกาญจน์ สาระรัตน์ธนโชติ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 ได้รับแจ้งจากพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย (ICWN) จากหอ ผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิง มีผู้ป่วย 1ราย ผลการตรวจหนองจากแผลพบเชื้อ Chromobacterium violaceum extended spectrum beta-lactamases producing (ESBL) จากผู้ป่วยมาด้วยอาการแขนขวาปวด บวมผิดรูป มีแผลฉีก ขาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 6 ชั่วโมง จึงออกสอบสวนโรคร่วมกับพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ พยาบาลประจำหอผู้ป่วย หัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและแพทย์เจ้าของไข้ ระหว่าง วันที่ 23-30 สิงหาคม 2560

วัตถุประสงค์ : เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคในแง่บุคคล เวลา สถานที่ ปัจจัยเสี่ยง ค้นหาแหล่งที่มาของการแพร่ระบาดและหาแนวทางในการควบคุม ป้องกันการแพร่กระจาย ของโรค

วิธีการรายงาน : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อ Chromobacterium violaceum (C.violaceum) โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์เจ้าของไข้ ICWN พยาบาลประจำหอ ผู้ป่วย หัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากพยาบาลควบคุม โรคติดเชื้อโรงพยาบาลศรีนครินทร์และศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผลการรายงาน : ผู้ป่วยเป็นหญิงไทยอายุ 67 ปี มีอาชีพทำนา ลื่นหกล้มที่ทุ่งนา แขนขวามีแผลฉีกขาด ปวด บวมผิดรูป รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน การวินิจฉัยเบื้องต้น Open fracture both bone of right forearm แรกรับได้รับยาปฏิชีวนะ Cefazolin รักษาโดยการผ่าตัด DB with ORIF with Small DCP ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ตั้งแต่ วันที่ 2-8 สิงหาคม 2560 แขนขวามี ตุ่มนำพุพอง แขนขวาบวมแดงและตึงถึงต้นแขน ทำการล้างและตกแต่งบาดแผล และตัดไหมตัวเว้นตัว เปลี่ยนยาปฏิชีวนะ ต่อมาจึงตัดไหมทั้้งหมด ส่งหนองจากแผลแขนขวาเพื่อเพาะเชื้อ ผลเพาะเชื้อพบ C.violaceum ผู้ป่วยขอไปรักษาต่อโรง พยาบาลศรีนครินทร์และมีอาการไข้สูงจึงส่งหนองเพื่อเพาะเชื้อ ผลเพาะเชื้อไม่พบเชื้อ ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ Clindamycin และ Ceftriazone แต่ยังมีไข้สูงจึงเปลี่ยนเป็นยา Sulperazone หลังให้ยาผู้ป่วยมีไข้ลดลง แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หลัง การจำหน่าย 2 วันผู้ป่วยมีอาหารหนองแตกจากแผลจึงกลับมารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์อีกครั้งด้วยอาการด้วยไข้สูง แผลมีหนอง จึงทำแผลและตกแต่งบาดแผลและส่งหนองเพาะเชื้ออีกครั้ง ผลไม่พบเชื้อ วันที่ 23 สิงหาคม 2560 ทำการรักษา ด้วยการใส่ plate & screw removal และ on external fixation และเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็น Cefazolin และ Genta- micin ไข้ลงดีจึงเปลี่ยนเป็น Augmentin 1X2 oral นาน 10 วัน ผู้ป่วยอาการดีขึ้นจึงกลับไปรักษาต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน 

สรุปผลการรายงานและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อ C. violaceum จริงซึ่งผลการตรวจยืนยันโดยสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สาธารณสุข พบว่าเป็นเชื้อเดียวกัน และถึงแม้ว่าโรคติดเชื้อ C. violaceum ก่อโรคในคนได้น้อยก็ควรระวังสงสัย ในกรณีผู้ป่วยแผลติดเชื้อ มีอาการลุกลามอย่างรวดเร็ว ไม่ตอบสนองต่อการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติสัมผัสดินหรือน้ำที่ มีเชื้อ การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมอย่างรวดเร็วก็จะสามารถช่วยลดอัตราตายและความรุนแรงของโรคได้

คำสำคัญ : Chromobacterium violaceum, โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

References

โกษา สุดหอม.ภาวะติดเชื้อ chromobacterium violaceum ในกระแสเลือดร่วมกับอาการ Adult respiratory syndrome และฝีในตับในเด็กชายอายุ 4 ปี ปี 2551. พุทธชินราชเวชสาร ; 2551 : (25)12

Ching-Huei YA, Yi-Hwei LB. Chromobacterium violaceum infection: A clinical review of an important but neglected infection. Journal of the Chinese Medical Association ; 2011 (7) 4 : 435-441.

Sara CK,DANIEL C. ANA S. First Case Report from Argentina of Fatal Septicemia Caused by Chromobacterium violaceum.JOURNAL OF CLINICAL MICROBIOLOGY ; 1986 : 23 : 956-958

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-15