ผลลัพธ์การให้โภชนศึกษาระหว่างแบบทั่วไปและแบบให้โปรแกรมโภชนศึกษา สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย

ผู้แต่ง

  • ศรีกัลญา เรืองเกษม
  • ศรีประไพ ฉายถวิลน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา การให้โภชนศึกษาระหว่างแบบทั่วไปกับแบบให้โปรแกรมโภชนศึกษา สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารักษา ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 คน/กลุ่ม โดยกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมโภชนศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และกลุ่มควบคุมได้รับโภชนศึกษาแบบทั่วไป เป็นระยะ เวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองได้รับการประเมินความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ ระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังการทดลอง เปรียบเทียบความแตกต่างหลังการทดลองของทั้งสองกล่ม ุ โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และ Independent sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา : พบว่า ภายหลังการทดลอง โปรแกรมโภชนศึกษาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีผลต่อการเพิ่มความรู้เกี่ยว กับการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) และส่งผลให้ปริมาณระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการทดลองมี แนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.931) สำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างไม่พบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง (p=0.051)

สรุป : จากการวิจัยในครั้งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมโภชนศึกษาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจเป็นแนวทางในลดระดับ น้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้นควรส่งเสริมกิจกรรมให้โภชนศึกษากับกลุ่มผู้ป่วยอย่างต่อเน่อง ื และเพิ่มกิจกรรม หรือระยะเวลาเพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนมากขึ้นและยืนยันผลการศึกษาในครั้งนี้

คำสำคัญ : โภชนศึกษา, การบริโภคอาหาร, โรคเบาหวาน

References

World Health Organization : WHO. Diabetes. Retrieved January 10 ; 2011, from http://www. who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/; 2017.

Rui Wang, Peng Zhang, Xin Lv, Lingling Jiang, Chunshi Gao, Yuanyuan Song, et al. Situation of Diabetes and Related Disease Surveillance in Rural Areas of Jilin Province, Northeast China. International Journal of Environmental Research and Public Health. ; 2016 :13(538) Doi:10.3390/ijerph13060538

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์; 2560.

สุพรรณ ศรีพรหมมา. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับ โรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : หจก. อรุณ การพิมพ์ ; 2557.

สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้; 2560 : 4(1) 191-204.

ระพีพร วาโยบุตร และพิมภา สุตรา. การพัฒนาแนวทาง การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2โดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและชุมชน บ้านหนองโดน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารกองการพยาบาล ; 2557 : 41(2) 72-83.

วาสนา ธรรมวงศา และเบญจา มุกตพันธุ์. การบริโภค อาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมโหสด นครหลวง เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ศรีนครินทร์เวชสาร; 2556: 28(1) : 30-38.

ทรรศนีย์ สิริวัฒนกุล, นงนุช โอบะ และสุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550: 1(2) : 57-67.

อรุณ จิรวัฒน์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2551.

นิภานันท์ สขุสวสัดิ์, อารยา ปรานประวิตร และสาโรจน์ เพชรมณี. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทาง สังคมเพื่อการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนา สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 255 : 4(1) : 49-65.

จุฑารัตน์ รังษา, ยุวดี รอดจากภัย และไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลัง อำนาจของผ้ดู ูแลและผ้ปู่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอ กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร ; 2559 : 31(6) : 377-383.

ดารณี ทองสัมฤทธิ์, กนกวรรณ บริสุทธิ์ และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเอง ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอ วัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระ ปกเกล้า จันทบุรี; 2560: 28(1) 26-37.

จิรปรียา บุญสงค์, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และจิราพร วรวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ท่มารี ับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2559 : 23(2) 46-59.

จุฑามาส จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและ การจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัย บูรพา ; 2555 : 7(2) 69-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-17