ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาต่อการแสดงบทบาทการเป็นมารดา ความพึงพอใจในบทบาทการเป็นมารดาและน้ำหนักตัวของทารกคลอดก่อนกำหนด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาต่อการแสดงบทบาทการเป็นมารดา ความพึงพอใจในบทบาทการเป็นมารดาและน้ำหนักตัวของทารกคลอดก่อนกำหนด
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกคลอดก่อนกำหนด จำนวน 30 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน มี 4 ขั้นตอน คือ ค้นหาสภาพจริง สะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตัดสินใจเลือก และคงไว้ซึ่งปฏิบัติ 5 วัน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลของมารดาและทารก แบบสอบถามการแสดงบทบาทการเป็นมารดา แบบสอบถามความพึงพอใจในบทบาทการเป็นมารดา และแบบบันทึกน้ำหนักตัวทารกคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t-test
ผลการศึกษา: การแสดงบทบาทการเป็นมารดาและความพึงพอใจในบทบาทการเป็นมารดา กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และน้ำหนักตัวทารกคลอดก่อนกำหนด กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
สรุปและข้อเสนอแนะ: การเสริมสร้างพลังอำนาจของมารดามีความสำคัญในการ ช่วยส่งเสริม สัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกให้มารดาสามารถใกล้ชิดบุตรได้มีส่วนร่วมในการดูแลบุตรได้แสดงบทบาทและมีความมั่นใจในการดูแลบุตรมากขึ้น ส่งผลให้มีความพึงพอใจในการการแสดงบทบาทการเป็นมารดายิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การเสริมสร้างพลังอำนาจมารดา การแสดงบทบาทการเป็นมารดา ความพึงพอใจในบทบาทการเป็นมารดา น้ำหนักตัวทารกคลอดก่อนกำหนด
References
Simons, S. H. P. Seminars in perinatology, preventing preterm birth and neonatal mortality: Exploring the epidemiology, causes, and intervention ; 2010. 34 (6) : 408-415.
Blencowa, H., Cousens, S., Oestergaard, M. Z., Chou, D., Moller, A. B., Narwal, R., et al. National, regional and worldwide estimates of preterm birth rates in the year 2010 with time trends for selected countries since 1990: A systematic analysis and implications. The Lancet ; 2012. 379 (9832) : 2162 - 2172.
King, M. F. The high-risk newborn. In S. A. Orshan (Ed.), Maternity, newborn, and women’s health nursing: Comprehensive care across the lifespan (pp. 911-978). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins ; 2008.
นฤมล ธีระรังสิกุล. ประสบการณ์ชีวิตของมารดาที่มีบุตรคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา ; 2555. 1: 25- 39.
สัจจวรรณ พวงศรีเคน. ผลของการเตรียมความพร้อมของมารดาต่อความวิตกกังวลจากการพรากจากการแสดงบทบาทการเป็นมารดาและการปรับตัวทางสรีรวิทยาของทารกคลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2550.
ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม. Journal of Health Research . 2537 ; 8 (2) : 121-146.
มนต์ตรา พันธุฟัก, ศรีสมร ภูมนสกุล, และอรพินธ์ เจริญผล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทมารดาต่อสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกความพึงพอใจในบทบาทของมารดาความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารกและการเจริญเติบโตของทารก. รามาธิบดีพยาบาลสาร ; 2552 .15 : 149-160.
Gibson, C.H. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 1995 ;21 (6): 1201-1210.
ริญญาภรณ์ บุญยะส่ง. การศึกษาการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลเด็กปัญญาอ่อนของผู้ดูแลในครอบครัว โรงพยาบาลปทุมธานี. [โครงการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ] กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2548.
ภัทราวดี ชัยงาม , มณีรัตน์ ภาคธูปและนุจรี ไชยมงคล. ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรม ของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2554 . 19 (ฉบับเพิ่มเติม 1) : 23-24.
ปาริชาติ บัวหลวง. ผลของการสร้างเสริมพลังอำนาจของมารดาต่อความเครียดและการแสดงบทบาทมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะวิกฤติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2552.
Melnyk, B. M., Feinstin, N. F., Gills, L. A., Fairbanks, E., Crean, H. F., Sinkin, R. A., & et al. Reducing premature infants length of stay and improving parents mental health outcomes with the creating opportunities for parent empowerment (COPE) neonatal intensive care program : A randomized controlled trail. Pediatrics ; 2006 : 118 (5). e1414 -e1427
ศุภวัชร บุญกษิดิ์เดช .หลักการดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อย. ในสมบูรณ์ จันทรสกุลพร (บรรณาธิการ). กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : นพชัยการพิมพ์ ; 2555 :222-223
Nelson, D. & Heitman, R. Factors influencing weight change in preterm infant’s. Pediatric Nursing, 12 (November-December) ; 1986 : 425-428
John M. Fanaroff. Size and physical examination of the newborn infant in : Klaus & Fanaroff s care of the high –risk neonate 6thed. United states , Elsevier ; 2013 :105- 107.
พัชรี วรกิจพูนผล. คู่มือการฝึกปฏิบัติการพยาบาลทารกแรกเกิด . ขอนแก่น .โรงพิมพ์คลังนานา ; 2555 : 34 -35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม