การพัฒนานวัตกรรมการประเมินและจัดการอาการปวดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ผู้แต่ง

  • อนุชา ไทยวงษ์
  • สุจิมา ติลการยทรัพย์
  • จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย
  • ภรรวษา จันทศิลป์
  • แจ่มจันทร์ รีละชาติ
  • อักษ์ศรา กะการดี
  • วรันณ์ธร โพธารินทร์
  • เฌอนินทร์ ตั้งปฐมวงศ์
  • วสันต์ ศรีแดน

บทคัดย่อ

อาการปวดเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาตามการรับรู้ของแต่ละบุคคล มีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานส่งผลกระทบต่อด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีบาดแผล รวมถึงผู้ป่วยมะเร็ง การประเมินอาการปวดจำเป็นต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อให้ระดับอาการปวดที่ประเมินได้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับการรับรู้ของผู้ป่วย นำไปสู่การจัดการอาการปวดได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนานวัตกรรมการประเมินและจัดการอาการปวดภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ ตามแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (2000) และนำสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2) การสืบหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การพัฒนานวัตกรรม และ 4) การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ โดยนวัตกรรมการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วย 1) แผนการประเมินและจัดการอาการปวด 2) สิ่งประดิษฐ์แผ่นการ์ดแนวทางการพยาบาล และ 3) สิ่งประดิษฐ์วงล้อประเมินอาการปวด

คำสำคัญ: นวัตกรรมการพยาบาล, หลักฐานเชิงประจักษ์, อาการปวด

 

References

Kumar KH, Elavarasi P. Definition of pain and classification of pain disorders. J Adv Clin Res Insights 2016;3:87-90.

นุสรา ประเสริฐศรี. คู่มือการพยาบาลเพื่อจัดการอาการปวด. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี; มปป.

Yang P, Sun LQ, Lu Q, Pang D, Ding Y. Quality of life in cancer patients with pain in Beijing. Chin J Cancer Res 2012;24(1):60-6.

Fairchild A. Under-treatment of cancer pain. Current opinion in supportive and palliative care 2010; 4(1):11-15.

Dueñas M, Ojeda B, Salazar A, Mico JA, Failde I. A review of chronic pain impact on patients, their social environment and the health care system. J Pain Res 2016;9:457–67.

Breivik H, Borchgrevink PC, Allen SM, Rosseland LA, Romundstad L, Hals EB, et al. Assessment of pain. BJA 2008; 101(1):17-24.

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. รายงานสรุปการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนานวัตกรรมการประเมินและจัดการอาการปวด. มหาสารคาม: วิทยาลัย; 2556.

Carr E. Barriers to effective pain management. J Perioper Pract 2007;17(5):200-3, 206-8.

วรางคณา อ่ำศรีเวียง. การจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต: บทบาทที่ท้าทายสำหรับพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558;8(2):1-8.

ศิริพร ศิริบุรานนท์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดแผลผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ช่องท้อง. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2552; 27(3):33-41.

Wysong PR. Nurses’ beliefs and self- reported practices related to pain assessment in nonverbal patient. Pain Manag Nurs 2014;15(1):76-85.

Samaraee AA, Rhind G, Saleh U, Bhattacharya V. Factor contributing to poor-operative abdominal pain management in adult patients. Surgeon 2010;8(3):151-8.

Flemming K, Fenton M. Making sense of research evidence to inform decision making. In Thompson C. Dowding D. editors. Clinical decision making and judgement in nursing. Toronto: Harcourt Publishers 2000;109-129.

Soukup M. The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinic of North Amesica 2000;35:301-9.

Dugashvili G, Van den Berghe L, Menabde G, Janelidze M, Marks L. Use of the universal pain assessment tool for evaluating pain associated with TMD in youngsters with an intellectual disability. Med Oral Patol Oral Cir Bucal 2017; 22(1): e88–e94.

สมาคมการศึกษาความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน.กรุงเทพมหานคร; 2552.

กาพย์ชวิน ตาน้อย. เครื่องมือประเมินความปวดแบบผสมผสาน. หอผู้ป่วย 3ข แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ขอนแก่น; 2558.

ลลิดา อาชานานุภาพ, รุ้งจิต เติมศิริกุลชัย. การประเมินความปวดและพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น. วารสารพยาบาลรามาธิบดี 2552;15(3):315-26.

เสาวนิตย์ กมลวิทย์, ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดโรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล 2557;41(2):23-40.

Meyer HP, Kenny PT. Assessment of patients with chronic pain. SA Fam Pract 2010;52(4):288-94.

ภาวดี วิมลพันธุ์, พรทิวา คำวรรณ. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อจัดการกับอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร. พยาบาลสาร 2556;40(3):85-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-17