ผลการศึกษาการใช้โฟมแข็งผสมปูนปลาสเตอร์เพื่อลดระยะเวลาการผลิตอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • อรรถพล โชติรัตนพิทักษ์

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา:ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานนั้นจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญ การพิจารณาอุปกรณ์เสริมของเท้า หรือรองเท้าที่เหมาะสม ช่วยป้องกันการเกิดแผล และลดอัตราการถูกตัดขาได้ แต่การผลิตอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้า จำเป็นต้องใช้เวลาในการผลิต ทำให้การได้รับอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้า เกิดความล่าช้า ซึ่งนับว่าเป็นการทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสไป

วัตถุประสงค์:เพื่อลดระยะเวลาการผลิตอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้าหล่อพิเศษเฉพาะรายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้า

รูปแบบการศึกษา:งานวิจัย และพัฒนา (Research and Development)

วิธีการศึกษา:  ศึกษาและพัฒนากระบวนการ เพื่อลดระยะเวลาการผลิตอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้าหล่อพิเศษเฉพาะรายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้า ที่มารับบริการแผนกกายอุปกรณ์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 – 30 มิถุนายน 2560

ผลการศึกษา:ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 60 ราย ได้รับการสั่งทำอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้าหล่อพิเศษเฉพาะราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มแรกใช้ปูนปลาสเตอร์หล่อหุ่นรูปเท้า เป็นเพศชายร้อยละ 50 อายุเฉลี่ย 66.23±7.55 ปี ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย 15.70±7.55 ปี กลุ่มที่สองใช้โฟมแข็งผสมปูนปลาสเตอร์เป็นเพศชายร้อยละ 50 อายุเฉลี่ย 64.13±8.94 ปี ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย 15.37±7.69 ปี ระยะเวลารวมในการผลิตกลุ่มแรก และกลุ่มที่สองใช้เวลาเฉลี่ย 1,794.23±9.88 และ305.77±9.88 นาที ส่วนระยะเวลารอคอยใช้เวลาเฉลี่ย 208.87±66.95 และ58.7±34.61 วัน ตามลำดับ ความพึงพอใจหลังได้รับอุปกรณ์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุด ขณะที่อัตราการเกิดแผลที่เท้าใหม่หลังการใช้งานที่ระยะ 1 และ3 เดือนพบรวม 6 ครั้งเท่ากันทั้งสองกลุ่ม

สรุป:การใช้โฟมแข็งผสมปูนปลาสเตอร์หล่อหุ่นรูปเท้าในการผลิตอุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้าหล่อพิเศษเฉพาะรายช่วยลดระยะเวลาการผลิต และระยะเวลารอคอยได้

คำสำคัญ :อุปกรณ์พยุงส้นเท้า และฝ่าเท้าหล่อพิเศษเฉพาะราย, เบาหวาน, แผลเท้าเบาหวาน

References

Annual Epidemiological Surveillance Report 2015 [Internet]. สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำปี 2558. กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/11/diabetes.pdf

International Diabetes Federation - What is diabetes. [internet]. 2018 [cited 2018 Jan 20]. Available from: https://www.idf.org/about-diabetes/what-is-diabetes.html

Nitiyanant W, Chetthakul T, Sang AkP, Therakiatkumjorn C, Kunsuikmengrai K, Yeo JP. A survey study on diabetes management and complication status in primary care setting in Thailand. J Med Assoc Thai. 2007;90:65-71.

Rerkasem K. Seminar review: sociocultural practices and epidemiology of diabetic foot problem: lessons from a study in Chiang Mai University Hospital, Thailand. Int J Low Extrem Wounds. 2011;10:86-90.

Tantisiriwat N, Janchai S. Common foot problems in diabetic foot clinic. J Med Assoc Thai. 2008;91:1097-101.

เพชร รอดอารีย์, ฉัตรประอร งามอุโฆษ, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร, ธัญญา เชฏฐากุล, สิริเนตร กฤตยาวงศ์, และคณะ. โครงการลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย:ลักษณะทางคลินิกและความชุกของภาวะ แทรกซ้อนระยะยาวทางระบบหลอดเลือด. J Med Assoc Thai.2006;89:S1-9.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2558.

Reiber GE, Smith DG, Wallace C, Sullivan K, Hayes S, Vath C, et al. Effect of therapeutic footwear on foot reulceration in patients with diabetes: a randomized controlled trial. JAMA. 2002;287:2552-8.

Viswanathan V, Madhavan S, Gnanasundaram S, Gopalakrishna G, Das BN, Rajasekar S, et al. Effectiveness of different types of footwear insoles for the diabetic neuropathic foot: a follow-up study. Diabetes Care. 2004;27:474-7.

ชัยณรงค์ รัตนพนาวงษ์. การพัฒนาการผลิตรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในชนบทประเทศไทย พ.ศ.2549-2552. ยโสธรเวชสาร. 2010;12:105-14.

รัชฎา สหะวรกุลศักดิ์. การศึกษาความชุกตามระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2556;30:71-82.

Johannesson A, Larsson GU, Ramstrand N, Turkiewicz A, Wirehn AB, Atroshi I. Incidence of lower-limb amputation in the diabetic and non diabetic general population. Diabetes Care. 2009;32:275-80.

Lawrence AL, David GA, Robert PW, Jeffrey T, Andrew JB. Predictive value of foot pressure assessment as part of a population-based diabetes disease management
program. Diabetes Care. 2003;26:1069-73.

Lord M, Hosein R. Pressure redistribution by molded inserts in diabetic footwear:
a pilot study. JRehabil Res Dev. 1994;31:214-21.

Matthew LM, Gayle ER, Douglas GS, Carolyn W, Shane H, Edward JB. Effectiveness of diabetic therapeutic footwear in preventing reulceration. Diabetes Care. 2004;27:1774-82.

Vijay V, Sivagami M, Saraswathy G, Gautham G, Bhabendra ND, Seena R, et al. Effectiveness of different types of footwear Insoles for the diabetic neuropathic foot a follow-up study. Diabetes Care. 2004;27:474-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-17