รายงานผู้ป่วย : การผ่าตัดเลือดออกในกระจุกเส้นเลือดผิดปกติ บริเวณก้านสมองในเด็กอายุ 11 ปี

ผู้แต่ง

  • อัศวิน รุจิศิรศานต์กุล

บทคัดย่อ

ภาวะเลือดออกในก้านสมองจากกระจุกเส้นเลือดผิดปกติ (Ruptured cavernous malformation) เป็นภาวะหนึ่งที่พบบ่อยในเด็ก เมื่อพบภาวะนี้มีโอกาสที่จะมีเลือดออกประมาณ 4-60%  เลือดออกในก้านสมองแม้พบเพียงเล็กน้อยก็จะมีอาการทางระบบประสาทค่อนข้างมากเพราะตำแหน่งก้านสมองเป็นศูนย์รวมของเซลล์ประสาทและมัดใยประสาทจำนวนมาก การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น ผู้ป่วยอาจพิการหรือเสียชีวิตได้ รายงานนี้มีเป้าหมายเพื่ออธิบายวิธีการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการผ่าตัดเลือดออกในก้านสมองจากกระจุกเส้นเลือดผิดปกติ (Ruptured cavernous malformation) ในผู้ป่วยเด็ก

วิธีการศึกษา : เป็นการรายงานขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ในผู้ป่วยเด็กอายุ 11 ปี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 11 ปี มาด้วย 5 เดือนก่อนผ่าตัดมีอาการเห็นภาพซ้อนในแนวราบ (เสียการทำงานของกล้ามเนื้อ lateral rectus ด้านขวา) ปากเบี้ยวด้านขวา หลับตาขวาไม่ลง เดินเซด้านขวาและมือด้านขวาหยิบจับไม่สะดวก วินิจฉัยโดยส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI brain) พบว่าผู้ป่วยมีภาวะ Ruptured cavernous malformation ที่ Pons ด้านขวา ได้ติดตามการรักษาผู้ป่วยตลอด 5 เดือน อาการผู้ป่วยดีขึ้นเรื่อยๆ ต่อมา 3 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการแย่ลง  ปากเบี้ยวมากขึ้น เดินไม่ได้ ทำ CT brain พบก้อนเลือดที่ brainstem มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงตัดสินใจผ่าตัดก้อนเลือดออกด้วยวิธี Suboccipitalcraniectomy with telovelar approach เอาก้อน cavernous malformation ออกได้หมดและไม่มีภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ

สรุป : แนวทางการเลือกผู้ป่วยผ่าตัด จะทำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกซ้ำซ้อน ก้อนเลือดอยู่ที่ขอบนอกของก้านสมอง ในขณะผ่าตัดควรทำการดึงหรือใช้จี้ห้ามเลือดให้น้อยที่สุด เป้าหมายคือเอาก้อน cavernous malformation ออกได้หมด ผู้ป่วยอาการดีขึ้นหลังผ่าตัดและมีความเสียหายน้อยที่สุด

 คำสำคัญ : ภาวะกระจุกเส้นเลือดผิดปกติที่ก้านสมอง, ภาวะเส้นเลือดผิดปกติ, กลอกตาออกด้านข้างผิดปกติ, หน้าเบี้ยวผิดปกติ มุมปากตกและหลับตาไม่ลง, มัดใยประสาท, การผ่าตัดเข้าทางด้านหลังก้านสมอง

References

A. Giovani, A.V. Ciurea, Angela Neacsu, R.M. Gorgan. Retrosigmoid approach for a ruptured pontine cavernous malformation, in a 10 years old pacient. Case report.Romanian Neurosurgery ; 2011, XVIII (4): 551 - 554

Chen L, Zhao Y, Zhou L, Zhu W, Pan Z, Mao Y. Surgical strategies in treating brainstem cavernous malformations. Neurosurgery ; 2010 , (68) : 609 – 621

Gorgan M., Neacsu Angela, BucurNarcisa, Pruna V., Giovani A., Dediu A., Update on the natural hystory of infratentorial cavernous malformations, Romanian Journal of Neurosurgery ; 2011, XVIII (3):378-389

Abla A.A., Lekovic G.P., Garrett M., Wilson D.A.,Nakaji P., Bristol R., Spetzler R.F. Cavernous malformations of the brainstem presenting in childhood: surgical experience in 40 patients,Neurosurgery ; 2010 ,67(6):1589-98 ; discussion 1598- 9.

Bertalanffy H., Benes L., Miyazawa T., Alberti O., Siegel A.M., Sure U., Cerebral cavernomas in the adult: Review of the literature and analysis of 72 surgically treated patients. Neurosurg Rev ; 2002 ,(25):1–53

Adib A. Abra, Jay D. Turner. Surgical approaches to brainstem cavernous malformations, Neurosurgery Focus ; 2010 , 29 (3) E8:1-6

François P., Ben Ismail M., Hamel O., BatailleB., Jan M., Velut S., Anterior transpetrosal and subtemporaltranstentorial approaches for pontinecavernomas, ActaNeurochir (Wien) ;2010 Aug; 152(8):1321-9; discussion1329. Epub 2010 May 4.

Ohue S., Fukushima T., Friedman A.H., KumonY., Ohnishi T.Retrosigmoidsupraflocculartranshorizontal fissure approach for resection of brainstem cavernous malformation, Neurosurgery ; 2010 Jun 66 (6 Suppl Operative) :306-12

Ohue S., Fukushima T., Kumon Y., Ohnishi T., Friedman A.H., Surgical management of brainstem cavernomas: selection of approaches and microsurgical techniques, Neurosurg Rev ; 2010 Jul; 33(3):315-22; discussion 323-4. Epub 2010 Apr 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-17