การให้คุณค่าของการเล่นอังกะลุงในผู้สูงอายุ ชุมชนสามัคคี อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พัชรี แวงวรรณ
  • ชนิสรา แสนยบุตร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการให้คุณค่าของการเล่นอังกะลุงในผู้สูงอายุ ชุมชนสามัคคี อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้สูงอายุที่เล่นอังกะลุงในชุมชนสามัคคี จำนวน 13 คน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 โดยนำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์ผลเชิงเนื้อหา

ผลวิจัย: ผู้สูงอายุ มีการให้คุณค่าต่อตนเองในการเล่นอังกะลุงโดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ (1) ด้านร่างกาย ได้พัฒนาสมอง เช่น มีสมาธิใจจดจ่อ เพิ่มความจำ และได้ออกกำลังกาย (2) ด้านจิตใจ เช่น มีความสุข รื่นเริงสนุกสนาน  มีความ ภูมิใจในตนเองและ เพื่อนร่วมทีม และ (3) ด้านสังคม ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด และพบปะเพื่อน เป็นต้น

สรุป: การเล่นอังกะลุงเป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้จากภายในซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุของการให้คุณค่าต่อตนเอง ดังนั้นการเล่นอังกะลุงจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

คำสำคัญ: คุณค่าในตัวเอง, ผู้สูงอายุ, กิจกรรมอังกะลุง, ดนตรี

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ประชากรผู้สูงอายุอาเซียน. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.dop.go.th/main/knowledge_detail.php

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ SITUATION OF THE THAI ELDERLY 2015. กรุงเทพมหานคร; 2558.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร; 2557.

อำไพขนิษฐ์ สมานวงศ์ไทย. ปัญหาของผู้สูงอายุ. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.love4home.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=108066&Ntype=2

ระบบรายงานคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. จำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคาม. [เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://mkho.moph.go.th/ltcadvanced/ frontend/web/index.php/module /person/ person/report1

กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. การศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองชุมชนสามัคคี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 2555; 6(6): 1-2.

กลุ่มนันทนาการชุมชน กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร. กลุ่มนันทนาการชุมชน; 2557.

ปัญญภัทร ภัทรกณทากุล. การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.; 2544.

พัชรี แวงวรรณ, ชนิสรา แสนยบุตร, วรรวิษา สำราญเนตร, ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์, พนิดา โยวะผุย, นิตยา ก่ออิสรานุภาพ, และคณะ. ผลของการเล่นอังกะลุงโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2560; 23(1): 1-15.

ธีรดา ศิริมงคล. ก้าวสู่พยาบาลยุค 4.0 ใช้นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakl5TURZMk1BPT0 =&sectionid

ธิคําพร อดทน. ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน (สิ่งแวดล้อม). [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www1.culture.go.th/subculture3/images/stories/ Artist/Y-home/Pasoopoon/ pasoopoon.pdf.

สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

เอื้อมพร หลินเจริญ. เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา 2553; 17(1): 17-29.

Raglio A, Filippi S, Bellandi D, Stramba-Badiale M. Global music approach to persons with dementia: clinical interventions in aging 2014; 9: 1669-1676.

ภูริพงษ์ เจริญแพทย์ , ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(1): 44-55.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, สถาพร แถวจันทึก, อัจฉรา สุขสำราญ, อุไรรัชต์ บุญแท้, เพ็ญแข ดิษฐบรรจง. การถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาลและการศึกษา 2558; 8(4): 153-166.

พัชรี แวงวรรณ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ผลของกิจกรรมการเล่นอังกะลุงร่วมกับการใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2554; 12(2): 15-28.

Murrock CJ, Higgins PA. The theory of music, mood and movement to improve health outcomes. J AdvNurs 2009; 65(10): 57-2249.

Seinfeld S, Figueroa H, Ortiz-Gil J, Sanchez-Vives MV. Effects of music learning and piano practice on cognitive function, mood and quality of life in older adults. Original research article 2013; 01(4): 1-13.

อนัญญา เหล่ารินทอง, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. Rama Nurs J 2015; 21(2): 214-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18