ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • เนียรนิภา บุญอ้วน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อายุครรภ์ การวางแผนการมีบุตร ลักษณะครอบครัว ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม

วิธีดำเนินการศึกษา  เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยศึกษาจากสตรีตั้งครรภ์ อายุไม่เกิน 19 ปีบริบูรณ์ ที่มาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 130   คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน  2561 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง  16-19 ปี  (ร้อยละ 75.4)  ค่าเฉลี่ยที่ 17.50 ปี  จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 40.8)  รายได้เพียงพอกับรายจ่าย(ร้อยละ 54.0)  เป็นผู้ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก (ร้อยละ 74.6) อายุครรภ์ 31- 40 สัปดาห์ (ร้อยละ 37.7) ไม่ได้ตั้งใจและไม่มีการวางแผนการตั้งครรภ์ล่วงหน้า (ร้อยละ 67.7) การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์  = 1.203 + 0.366 การสนับสนุนทางสังคม + 0.175 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง + 0.087 คะแนนระดับการศึกษา  ที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้น 0.366 คะแนน และสามารถอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 38.4

สรุป  จากการวิเคราะห์ข้อมูลเห็นได้ว่าการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและระดับการศึกษามีความสำคัญและมีผลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น             

References

วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ . กรุงเทพฯ, ปีที่ 20 (มกราคม-ธันวาคม) ; 2561 : 216-217.

สุจิตต์ แสนมงคล. การรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 , 2559 ; 30 : 105-114.

โครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ . การทบทวนสถานการณ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไทย 2556 ” นนทบุรี , กระทรวงสาธารณสุข ; 2557.

กรมอนามัย.กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดและเป้าหมายงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ; 2554 . สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2561. แหล่งที่มา
http://hp.anamai.moph.go.th/main.php

ลักขณา ไชยนอก (2558) . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น หลังคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล
ครอบครัวและผดุงครรภ์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา ;2558

สถิติการฝากครรภ์โรงพยาบาลสระบุรี 2558-2560 .โรงพยาบาลสระบุรี,สระบุรี; 2560.

พรวิไล อาลัยสุข. ความรู้ของมารดาวัยรุ่น กับการปฏิบัติต่อเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2557 : 8-10

Cobb, S. Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine ;1976 , 38: 300 314.

Rosenberg, M. Socialty and adolescent Self – image. Princeton: University Press ;1965 :89.

Roy, S.C.. Introduction to nursing: An adaptation model. 2nd ed. Englewood Cliffs: Prentice – Hall ; 1984.

พิมพ์ศิริ พรหมใจษา . ผลของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมต่อบทบาทการเป็นมารดาในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น กรุงเทพฯ. พยาบาลสาร , 2557 ; 41 (เมษายน-มิถุนายน ) : 96 – 102.

ธนากร ปิยวรรณรัตน . ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ; 2552 (4)3: 8-22.)

สุจิตต์ แสนมงคล.การรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จังหวัดภูเก็ต.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11; 2 5 5 9 (30) : 105-114.

จารุภา วงศ์ช่างหล่อ , พัชรี ดวงจันทร ,อังศินันท์ อินทรกำแหง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ จัดการตนเองและครอบครัวของ มารดาหลังคลอดบุตรครรภ์แรก. วารสารเกื้อการุณย์ . 2560 (24) 1 : 179 -193.

โสภาสินี เอี่ยมสอาด . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์ กรุงเทพฯ .วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย คริสเตียน ; 2553 .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18