การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เพชรรุ่ง อิฐรัตน์

บทคัดย่อ

ภาวะไตวายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย โดยทางกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพมีนโยบายการล้างไตทางหน้าท้องในการรักษาผู้ป่วยไตวาย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการติดเชื้อ ส่งผลต่อการกลับมารักษาซ้ำและอัตราตายของผู้ป่วย การให้การพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมการหายเป็นปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยซ้ำได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้บำบัดทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ที่มีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง

วิธีการดำเนินงาน : การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องและมีภาวะติดเชื้อ จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาสารคาม ในเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ  พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาภาวะติดเชื้อในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลในระยะแรกรับ ระยะการดูแลต่อเนื่อง และระยะการวางแผนจำหน่าย

ผลการศึกษา เปรียบเทียบผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ที่มีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง2 ราย

รายที่ 1 ผู้ป่วยชาย  อายุ 57  ปีอาการสำคัญ มีไข้ ปวดท้อง  เหนื่อยอ่อนเพลีย น้ำยาล้างไตออกจากทางหน้าท้องขุ่น  เป็นก่อนมาโรงพยาบาล  1สัปดาห์ได้รับการวินิจฉัย End stage renal disease  with Infected Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD)

รายที่ 2 เป็นผู้ป่วยชาย อายุ  54 ปี อาการสำคัญมีไข้ ปวดท้องน้ำยาล้างไตออกจากทางหน้าท้องขุ่น เป็นก่อนมาโรงพยาบาล  1วันได้รับการวินิจฉัย Infected Continuous Ambulatory PeritonealDialysis (CAPD) with Septicemia

สรุป : การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ได้การล้างไตทางช่องท้อง จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง  ซึ่งการติดเชื้อนี้มีผลต่อกระทบต่อปริมาณน้ำออกจากช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำเกิน และติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที โดยการประเมินภาวะการติดเชื้อ  การช่วยในการทำงานของไต  พยาบาลต้องใช้ความรู้ความสามารถในการประเมิน รวมทั้งเฝ้าระวังอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิดและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรวดเร็วทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

References

Fresenius Medical Care. ESRD Patients in 2012: A global perspective. Bad Homburg :Klimaneutral; 2013.

กองทุนโรคไตวาย สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานผลการดำเนินงานโครงการล้างไตผ่านทางช่องท้องในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า CAPD (1 ต.ค.50-30 พ.ย.54) [อินเทอร์เนต]. กรุงเทพฯ :[เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก :http://kdf.nhso.go.th/form_login1.php

ณิธัตร ต่อบุณศุภชัย. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการติดเชื้อทางเยื่อบุช่องท้องที่สัมพันธ์กับการวางสายล้างไตทางช่องท้อง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท 2555: 14 : 16-21.

สุภินดา ศิริลักษณ์ ,วรพล บูรณโชคไพศาล. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง . พุทธชินราชเวชสาร 2555: 29 : 224-32.

อารุณี มีศรี. ต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของศูนย์บริการโรคไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น : 2555.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานผู้ป่วยในที่พบบ่อย [อินเทอร์เนต]. มหาสารคาม : [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก

International Society Peritoneal Dialysis. Peritoneal dialysis patient training 2006 Peritoneal Dialysis International 2006: 26 : 625-32.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในชุมชน. สงขลา: วนิดาเอกสาร ; 2552.

อัมพร สกุลแสงประภา. Treatment and Prevention of Peritoneal Dialysis-Related Infections.ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ ,บรรณาธิการ. Textbook of Peritoneal Dialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น. 2551. หน้า 269 -78.

Sakacı T, Ahbap E, Koc Y, Basturk T, Ucar ZA, Sınangıl A, et al. Clinical outcomes and mortality in elderly peritoneal dialysis patients. Clinics 2015 ; 70 : 363-8.

Okayama M, Inoue T, Nodaira Y, Kimura, Y, Nobe, K, Seto T, et al. Aging Is an Important Risk Factor for Peritoneal DialysisAssociatedPeritoniti [Internet]. [cited 2016 Mar 13]. Available from: http://www.advancesinpd.com/adv12/Part2/50.pdf 8.
12.Lobo JVD, Villar KR, Júnior A, De MP, Bastos K de A. Predictor factors of peritoneal dialysis-related peritonitis. J Bras Nefrol 2010; 32: 156-64. 9.

Suanpoot W-. Factors Associated with Infection in Patients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis, Song District, Phrae Province, Thailand. J Health Sci 2014; 23: 284-9.

นาตยารัตนอัมภา. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง. ใน วันดี โตสุขศรี และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หจก.เอ็นพีเพรส; 2559. 127-49.

ศุภชัย ฐิติอาชากุล. ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยล้างไตช่องท้องถาวร (CAPD complication). ใน ศุภชัย ฐิติอาชากุล, บรรณาธิการ. การล้างไตทางช่องท้อง. กรุงเทพฯ : บุ๊คเน็ทจำกัด: 2544. 206-62.

อรวมน ศรียุกตศุทธ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเสียหายเฉียบพลันและโรคไตเรื้อรัง. ใน วันดี โตสุขศรีและคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หจก.เอ็นพีเพรส; 2559. 107-26.

กิ่งกมล เพชรศรี,กันตพร ยอดไชย,ทิพย์มาส ชิณวงศ์. การนอนไม่หลับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและบทบาทของพยาบาลในการจัดการอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560: 37: 130-36.

รัชนี เชี่ยวชาญธนกิจ. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องอักเสบของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2553: 7: 1-12.

จิราพร โพธิชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่ล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18