ประสิทธิภาพการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกพิเศษ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกพิเศษ
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 ดำเนินการวางแผน ระยะที่ 3 การทดลองใช้แผน ระยะที่ 4 ประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 182 คน กลุ่ม Care Giver จำนวน 32 คน โดยเลือกแบบแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลด้วย แบบทบทวนเอกสารและเวชระเบียน แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ โดยเครื่องมือวิจัยดังกล่าวได้รับการตรวจสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน
ผลการศึกษา : ระยะที่ 1 จากการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีโรคอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 79.67 และผู้ป่วยเบาหวานที่ทำการศึกษาในครั้งนี้มีอายุตั้งแต่ 31 ปี ถึง 75 ปี ระยะเวลาของการเป็นเบาหวาน เฉลี่ย 5.16 ปี และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 161.1 mg.% มีมูลค่ายาเหลือใช้เฉลี่ย 112.5 ต่อคน และมีอัตรายาเหลือใช้ร้อยละ 100 ระยะที่ 2 ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็น และร่วมกันวางแผนการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยเบาหวานคลินิกพิเศษ ได้แผนคือ Re – Check Model ระยะที่ 3 นำไปทดลองใช้ พบว่า (1)มีการ Recheck การตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาที่ผู้ป่วยทุกคน (2) มีสร้างเครือข่าย Care Giver ผู้ดูแลเรื่องการใช้ยา จำนวน 32 คน (3) เภสัชกร ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายทุกคน (4) เภสัชกร จ่ายยาอย่างพอเพียง ตามวันนัด เพื่อให้ไม่มียาเหลือใช้เกินนัดผู้ป่วยทุกคน(5) เภสัชกรให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้ยา (6) เภสัชกรให้ความรู้ด้านยา แก่ผู้ป่วยขณะรอพบแพทย์ ทุกรายที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 4 ประเมินผล พบว่า (1)อัตรายาเหลือใช้ จากร้อยละ 100 ลดลงเหลือ ร้อยละ 67.2 (2) มูลค่ายาเหลือใช้เฉลี่ยต่อคน จาก 112.5 บาท/คน ลดลงเหลือ 65.5 บาท/คน (3) ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 161.1 mg.% ลดลงเหลือ 137.1 mg.%
สรุป : จากข้อค้นพบในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญต่อการเสนอแนะต่างๆ ในการกำหนดนโยบาย และเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ ในการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
คำสำคัญ :ประสิทธิภาพ,การจัดการยา,คลินิกพิเศษ
References
โรงพยาบาลนาดูน.รายงานประจำปีโรงพยาบาลนาดูน. มหาสารคาม ; 2556.
ปรารถนา ชามพูนท และคณะ.ยาเหลือใช้และพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2554 ; 6(2) : 105-111.
สรัลรัตน์ สโดอยู่ และคณะ.การศึกษาปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านการเยี่ยมบ้าน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.เสวนาสารเภสัชกรรมและบริการสุขภาพ. 2557;1(1):1-7
ศิริชัย พงษ์วิชัย.การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2552.
กนกพร พาพิทักษ์ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษามูลค่ายาและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการหาสาเหตุพร้อมทั้งแนวทางแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง กรณีศึกษา ชุมชนบ้านมะกอก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.มหาสารคา ; 2554.
มลฤดี มณีรัตน และคณะ.ผลของการเยี่ยมบ้านโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ต่อความรู้ ความร่วมมือในการใช้ยา และปัญหายาขยะในครัวเรือน.วารสารเภสัชกรรมไทย.2553 ; 2(1) :24-34.
นัทธมน หรี่อินทร์ และคณะ.การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561 ; 15(1) : 53 – 60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม