การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีเลือดออกในสมองและสมองขาดเลือดที่มีการติดเชื้อปอดอักเสบจาก การใช้เครื่องช่วยหายใจ : กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: เลือดออกในสมองและ สมองขาดเลือดเป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิต ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานคือการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น นอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีเลือดออกในสมองและสมองขาดเลือดที่มีการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
วิธีการดำเนินงาน: ศึกษาผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยเด็กที่มีเลือดออกในสมองและสมองขาดเลือดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กโต โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยศึกษาประวัติผู้ป่วย การรักษาพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา: รายที่ 1 ผู้ป่วยเด็กชายไทย อายุ 14 ปี อาการสำคัญ ขับขี่รถจักรยานยนต์ชนรถปิกอัพ สลบไม่รู้สึกตัวเป็นมา 1 ชั่วโมง เลือดออกทางจมูก และหูทั้ง 2 ข้าง ตามีรอยซ้ำบวม บริเวณใบหน้าและรอบๆตามีรอยถลอกขาซ้ายบวมผิดรูปร่าง ใช้เครื่องช่วยหายใจนาน 62 วัน วินิจฉัยโรค Temporal lobe hemorrhage, Closed Fracture Lt Femur, VAP การผ่าตัด Open Reduction and Internal Fixation (ORIF) with Dynamic Compression Plating(DCP) Lt Femur
รายที่ 2 ผู้ป่วยเด็กหญิงไทยอายุ 11 ปี อาการสำคัญ ผู้ป่วยวิ่งเล่นกับเพื่อนเกิดอุบัติเหตุหกล้ม คอกระแทกพาดแท่งเหล็ก หลังจากนั้นหมดสติหัวใจหยุดเต้น นาน 6 นาที ให้การช่วยเหลือโดยฟื้นคืนชีพจนรอดชีวิตผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนาน 19 วัน วินิจฉัยโรค Blunt neck injury with post cardiac rest, Abscess neck, VAP
สรุป: การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองและสมองขาดเลือด จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานเพื่อคงไว้ซึ่งการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างเพียงพอจนกว่าภาวะของเนื้อสมองกลับสู่ปกติหรือมีการสูญเสียน้อยที่สุดฉะนั้นทีมผู้ดูแลต้องมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญในการนำแนวปฏิบัติเรื่องการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ผู้ป่วยเด็กที่มีเลือดออกในสมองและสมองขาดเลือดมีการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
References
เจษฎากร เจนพาณิชพงศ์ และคณะ. บรรณาธิการ. การแข่งขันทักษะการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปี 2560. นนทบุรี , ปัญจมิตรการพิมพ์ ; 2560 : 9-21.
มาฆะ กิตติพธรกุล. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่มีการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ: Journal Prapokklao Hospital CLIN Med Educa Center ; 32 : 2 Apr.-Jun 2015: 173-187.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4.เชียงใหม่: มิ่งเมืองนวรัตน์ ; 2558.
Centers for Disease Control and Prevention. “Guideline for preventing health-care- associated pneumonia, 2003 recommendations of the CDC and the healthcare infection control practices advisory committee”. MMWR. 53: 1-36.2003
Kasuya Y, Hargett JL, Lenhardt R, Heine MF, Doufas AG, Remmel KS, et al. Ventilator-associated pneumonia in criti¬cally ill stroke patients: frequency, risk factors, and outcomes. J Crit Care.2011; 26: 273-79.
ธฤติ สารทศิลป์. ผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย 19 1. 2552.
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ. 2558. มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม.
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ. 2559. มหาสารคาม, โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2559.
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล พ.ศ. 2560.มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2554.
World Health Organization. WHO guideline on hand hygiene in healthcare.Geneva Switzerland . 2009.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม