ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อความสามารถในการงอข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • รัศมี เกตุธานี
  • วันเพ็ญ วรามิตร
  • อนุชา ไทยวงษ์
  • กัญญาพัชร เบ้าทอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความสามารถในการงอข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและวัดผลหลังการทดลองอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึง เดือนกันยายน 2560 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย                1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ไม้บรรทัดวัดพิสัยของข้อ และแบบบันทึกการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์

ผลการศึกษา: ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการงอข้อเข่า และพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนและการเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวและสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ

คำสำคัญ: สมรรถนะแห่งตน, แรงสนับสนุนทางสังคม, การงอเข่า, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

References

ศุภฤทธิ์ เฮงคราวิทย์. การป้องกันและชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุวัยต้นในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(1):105-10.

Yuqing Z, Joanne MJ. Epidemiology of osteoarthritis. Clin Geriatr Med 2010;26(3):355-69.

Manrique J, Gomez MM, Parvizi J. Stiffness after total knee arthroplasty. J Knee Surg 2015;28(2):119-26.

ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ.2553.,กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คอมพลีส พริ้นติ้ง; 2553.

เพ็ญศิริ ดวงผุนมาตย์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, กีรติ เจริญชลวานิช. พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสุขศึกษา 2557;37(126):49-65.

ทัศนีย์ มีประเสริฐ, เสาวภา อินผา. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. โครงการประชุมวิชาการ ประจำ ปี 2553 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. วันที่ 21–22 กรกฎาคม 2553.

Healy WL, Della Valle CJ, Iorio R, Berend KR, Cushner FD, Dalury DF, et al. Complications of total knee arthroplasty: standardized list and definitions of the Knee Society. Clin Orthop Relat 2013;471(1):215-20.

Alfredo SP, Simone C, Michele V, Mario T. Stiffness in total knee arthroplasty. J Orthopaed Traumatol 2009;10:111-8.

ชินภัทร์ จิระวรพงศ์. การปฏิบัติตามแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2554;21(3):99-102.

Dominick GM, Zeni JA, White DK.. Association of psychosocial factors with physical activity and function after total knee replacement: an exploratory study. Arch Phys Med Rehabil 2016;97(9 Suppl):S218-25.

McKay C, Prapavessis H, Doherty T. The effect of a rehabilitation exercise program on quadriceps strength for patients undergoing total knee arthroplasty: a randomized controlled pilot study. PMR 2012;4(9):647-56.

อินทิรา ไพนุพงศ์, วิภา แซ่เซี้ย, เนตรนภา คู่พันธวี. โปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล 2558;30(1):99-111.

สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป, วิภา แซ่เซี้ย, เนตรนภา คู่พันธวี. ผลของการจัดการความปวดแบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล 2555;27(3):77-90.

หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิง โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานสรุปการสนทนากลุ่มร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. มหาสารคาม: โรงพยาบาล; 2559.

Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

House JS. Work stress and social support. Reading, Mass: Addison-Wesley; 1981.

ไพรัช ยิ้มเนียม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23(2):20-31.

กมนทรรศน์ ยันต์เจริญ, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34(Suppl 1):167-78.

โรงพยาบาลเลิดสิน. การพยาบาลออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

van den Akker-Scheek I, Stevens M, Groothoff JW, Bulstra SK, Zijlstra W. Preoperative or postoperative self-efficacy: which is a better predictor of outcome after total hip or knee arthroplasty?. Patient Educ Couns 2007;66(1):92-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18