การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วรเชษฐ์ มงคลสิทธิกุล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การรักษาโรคไตเรื้อรังทีได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีค่าใช้จ่ายสูงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เพื่อการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

วิธีการศึกษา : ศึกษาผู้ป่วย  2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยศึกษาประวัติผู้ป่วย การรักษาพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

ผลการศึกษา: กรณีศึกษาที่1 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 30 ปี เป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 12 ปีทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3 ครั้ง/สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้ส่งผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียม ทั้งหมด 2 ครั้ง ขณะทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้รับการประเมินให้การพยาบาลและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ รวมระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล 2 วันกรณีศึกษาที่2 ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 44 ปี เป็นโรคเบาหวาน 6 ปี ความดันโลหิตสูง 5 ปี และไตวายเรื้อรังประมาณ 2 ปี แพทย์แนะนำให้พิจารณาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นครั้งแรก ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  2 ครั้ง ขณะฟอกเลือดพบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำ ได้แก้ไขโดยการคืนน้ำและหยุดฟอกเลือดหลังจากนั้นความดันโลหิตปกติ รวมระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล 4 วัน

สรุป : การประเมินผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้อย่างรวดเร็วและให้การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือด ช่วยลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญการเป็นพิเศษและต้องมีแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 คำสำคัญ: การพยาบาล, โรคไตเรื้อรัง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพมหานคร :บริษัทยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด ; 2555.

อเนก หล้าเพชร.ปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยวิกฤตที่มีต่อภาวะไตวายเฉียบพลันและได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดในหอผู้ป่วยระยะวิกฤต โรงพยาบาลหนองบัวลำภู.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ,(4) :3(พิเศษ) ; 2551 :116-1121.

ดุสิต ล้ำเลิศกุลและคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตวายเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต.กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ; 2552.

วาทินี ศรีไทย. ผลของการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดแผนไทยต่อความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2551.

วิจิตรา กุสุมภ์และคณะ.การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร : สหประชาพาณิชย์ ; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18