การพัฒนาสมรรถนะสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ปิ่นวิเศษ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ให้มีสมรรถนะตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

วิธีการดำเนินการวิจัย : โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) โดยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของนักวิชาการสาธารณสุขจากผู้ใช้บัณฑิต 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 3) ดำเนินจัดการเรียนการสอน 4) ประเมินผลโดยการสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข และอาจารย์จำนวน 166 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม

 ผลวิจัย : สมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุขที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการมากที่สุดคือ การประเมินภาวะสุขภาพของประชาชน และเมื่อทำการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน พบว่าในการจัดการเรียนการสอนแต่ละชั้นปีต้องมีการฝึกปฏิบัติในพื้นที่ชุมชน ได้แก่ ชั้นปีที่ 1 โครงการศึกษาเรียนรู้ระบบบริการสุขภาพระดับ  ปฐมภูมิ ณ บ้านเกิด ชั้นปีที่ 2 ฝึกปฏิบัติระบบสารสนเทศทางสุขภาพ ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ฝึกปฏิบัติการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม ชั้นปีที่ 3 ฝึกปฏิบัติประเมินสุขภาพชุมชน ชั้นปีที่ 4 ฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุข หลักจากดำเนินการจัดการเรียนการสอน ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะการประเมินภาวะสุขภาพ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต อยู่ในระดับมาก

สรุป : การพัฒนานักศึกษาด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกปฏิบัติในชุมชน สามารถเสริมสร้างสมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุข ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตได้

 

คำสำคัญ : สมรรถนะ การจัดการเรียนการสอน นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ใช้บัณฑิต

References

อรรณพ สนธิไชย. ศึกษาสภาพความพร้อมในการทำแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่ศตวรรษที่ 21 ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, พวนทอง เชาวกีรติพงศ์, สำราญ มีแจ้ง. การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2554: 6(2): 12-19.

พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556, ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 130, ตอนที่ 118 ก. (ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556)

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555. สุพรรณบุรี; 2555.

ชุมพล ทองระอา. ความต้องการของบุคลากรสาธารณสุขต่อคุณลักษณะนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.

ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, จิรนันท์ ตุลชาติ, สุวรรณี เนตรศรีทอง. การประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2561: 11(1).

ปริทัศน์ เจริญช่าง, สุวัฒนาเกิดม่วง, สุรินธร กลัมพากร. สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559: 26(1): 40-51.

นงนุช เสือพูมี, วัลทณี นาคศรีสังข์, ประไพพิศ สิงหเสม. การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560: 27(1): 12-21.

จรัสศรี เพ็ชรคง. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559: 10(2): 199-211.

ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์, อิมรอน มะลูลีม. การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF) พ.ศ.2552. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2557: 4(1): 185-192.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18