การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ของคลินิกพิเศษโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิศรุดา ตีเมืองซ้าย
  • สุชาติ ทองแป้น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงของคลินิกพิเศษโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) พื้นที่ศึกษาคือหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 21 แห่ง ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C มากกว่า 10 mg% จำนวน 157 คน และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 21 คน รวมจำนวน 178 คน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะพัฒนากระบวนการ และ 3. ระยะประเมินผล ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 - เมษายน 2560 เก็บรวมรวมข้อมูลจากโปรแกรม HosXP และฐานข้อมูล HDC เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย : พบว่า การพัฒนากระบวนการมี 8 กิจกรรม ได้แก่ 1. สำรวจสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหา 2. ประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อจัดระบบการดูแลผู้ป่วย 3. อบรมการดูแลป่วยโรคเรื้อรังสำหรับทีมสหวิชาชีพ 4.จัดตั้ง Special NCD clinic 5.จัดระบบการตรวจภาวะแทรกซ้อนประจำปี 6. จัดทำ CPG การดูแลรักษาผู้ป่วย 7. ติดตามผล 8. ทบทวนผลการดำเนินงาน  และหลังการพัฒนาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 50.96 การรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับมาก (M=4.17, SD=0.86)  พฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก (M=3.59, SD=0.203)  ค่าระดับน้ำตาล HbA1C ลดลง 128 คน คิดเป็น 81.52% ด้านบทบาทการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับมาก (M=2.80, SD=0.410) และความพึงพอใจการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก (M=2.78, SD=0.395)

คำสำคัญ : ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง, หน่วยบริการปฐมภูมิ

References

World Health Organization (2001). Diabetes Fact sheet. Retrieved from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/

วิศิษฎ์ ฉวีพจน์กำจร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และภาวะควบคุมโรคของบุคคลโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่กับครอบครัว (The Efectiveness of the Mutual Goal Setting Nursing Program on Self-Care Behaviors and Control of Diabetic Condition in Diabetes Patients Living with Family.) วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เลขหน้า 105-116; 2550.

สรุปรายงานการป่วย. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี; 2555.

ฐานข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคล หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว. กรมบัญชีกลาง สํานักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี; 2555.

รายงานการตรวจภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานประจำปี 2559. ฐานข้อมูลทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม; 2559.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี; 2551.

Kemmis, S. and McTaggart, R. The Action Research Reader.Thirdedition.Deakin University Press, Victoria, 1990.

มนต์ธิรา ไชยแขวง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลตะกั่วป่าจังหวัดพังงา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2548.

ลักษณา ทรัพย์สมบูรณ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม; 2551.

นันทวดี ดวงแก้ว. ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอ เกาะคา จังหวัดลำปาง.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

ชนาธิป ศรีพรหม. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18