ผลของการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อการปรับตัวในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน

ผู้แต่ง

  • นุชจรินทร์ ไชยสัจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อการปรับตัวในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและเปรียบ เทียบการปรับตัวของผู้ดูแลก่อนและหลังการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน

วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental  research) แบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการ ทดลอง (One group pre-posttest  design) โดยเก็บข้อมูลหลักที่ให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นผู้ดูแลหลักที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาก่อน และให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน รับทราบจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายและให้การรักษาแบบประคับประคอง การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม อย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 32 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลของผู้ดูแล แบบบันทึกข้อมูล ทั่วไปของผู้ป่วย แบบสัมภาษณ์การปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน มีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Paired t-test

ผลการวิจ ผลการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแล ต่อการปรับตัวในการดแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน ภายหลังได้เตรียม ความพร้อม มีความพร้อมสูงกว่าก่อนการทดลอง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

สร การเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อการปรับตัวในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน  ตามแนวคิดทฤษฎีการปรับ ตัวของรอยให้ครอบคลุมองค์รวมของบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ โดยประเมินพฤติกรรม การปรับตัว การให้คำปรึกษา การเสริมสร้างพลังอำนาจ การให้ความรู้ และฝึกทักษะการแก้ปัญหาในการจัดการตนเองและ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือตามความต้องการของผู้ดูแลที่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถปรับตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คำสำคัญ  : การเตรียมความพร้อมของผู้ดูแล การปรับตัวของผู้ดูแล การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน

References

สานักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาวะโรคและ สุขภาพประชากร.นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

งานเวชระเบียนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. แบบบันทึกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2556-2560. เอกสารอัดสำเนา.

วารุณี มีเจริญ . ศึกษาเรื่องญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การ ปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. วารสารสภาพยาบาล, 2557; 29 (4) : 9-22.

ทัศนีย์ ทองประทีป. พยาบาลเพื่อนร่วมทุกข์ผู้ป่วยระยะ สุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด; 2552.

จุฬาลักษณ์ ฝั้นศิริ. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลมหาสารคาม .วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม. มหาสารคาม, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม ; 2556 :15-21.

ศรัณยา แสงมณี, มณ อาภานันทิกุล และยุพาพิน ศิรโพธ์งาม. กรณีศึกษา : การปรับตัวของญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำงาน นอกบ้าน. วารสาร สภาพยาบาล, 2555 ; 18 (1) :119-133.

สินีนุช ขาดี, มณี อาภานันทิกุลและยุพิน ศิรโพธ์งาม. การปรับตัวของญาติผู้ดูแลท่มีปัญหาการปรับตัวในการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาพยาบาล,
2557 ; 29 (4) :45-63.

กิตติกร นิลมานัต. การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต, สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์ ; 2555.

Roy & Andrews. The Roy’s Adaptation Model , Public Health Nursing Stamford : Appleton & Lange ; 1999

เพ็ญศิร มรกต, กิตติกร นิลมานัต และเยาวรัตน์ มัชฌิม.ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง . วารสาร สภาการพยาบาล , 2558 ; 30 (2): 33-45.

เตชทัต อัครธนารักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียม ความพร้อมกับพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้อออาทรแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาลจบใหม่. วารสาร พยาบาลสาธารณสุข , 2560 ; 31 (1) : 160-174.

Nelson J, Danis M. End-of-life care in the intensive care unit : where are we now ? . Crit Care Med , 2001 ; 29 (2): N2 - 9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-19