ผลการใช้ลูกกลิ้งมหัศจรรย์ต่อการลดความปวดบ่า
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรม “ลูกกลิ้งมหัศจรรย์” เป็นอุปกรณ์ช่วยนวดตนเอง ที่คิดค้นและประดิษฐ์ข้นจากวัสดุเหลือใช้ เพ่อบรรเทาอาการปวดบ่าของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยจานวน 22 คน เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความปวดบ่าก่อน และหลังการใช้นวัตกรรม โดยการนวดตนเองด้วยลูกกลิ้งมหัศจรรย์ เป็นเวลา 10 นาที แล้วประเมินผลทันที (ก่อนทดลองไม่ได้นวด) สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ Wilcoxon signed ranks-test มีนัยสำคัญ (p<0.05)
ผลการศึกษา : พบว่า หลังทดลองนวดตนเองด้วยลูกกล้งมหัศจรรย์ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความปวดบ่าลดลงมากกว่าก่อนทดลอง (p<0.05) ความพึงพอใจส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างต่อ “ลูกกลิ้งมหัศจรรย์” อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยด้านการใช้ได้ง่าย การพกพาไปในที่ต่างๆ และการเก็บรักษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77, 5 และ 4.91 ตามลำดับ ด้านการกดหาจุดปวด การออกแรงได้ตามที่ต้องการ การเปลี่ยนแรงกดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย กดแล้วรู้สึกสบาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91, 4.95, 5 และ 4.73 ตามลำดับ ด้านลูกกลิ้งโรลออนสามารถหาได้ง่าย มีความคงทน และสามารถประกอบได้เอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77, 4.82 และ 4.50 ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าราคาเหมาะสมแล้ว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
จากการศึกษาครั้งนี้ : พบว่า อุปกรณ์ช่วยนวด “ลูกกลิ้งมหัศจรรย์” ซึ่งทำจากวัสดุเหลือใช้ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้ผู้ท่มีอาการปวดบ่าลดหรือคลายความปวดท่สามารถทาได้ทุกสถานที่ และทุกเวลาท่ว่าง นอกจากจะมีผลดีต่อส่งแวดล้อมแล้วยังมีผลดีต่อการทำงานของบุคลากร ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสุขสบาย ส่งผลดีต่อสุขภาพ และผลดีต่องานบริการผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ : ลูกกลิ้งมหัศจรรย์, อุปกรณ์ช่วยนวด, ปวดบ่า
References
สถาบันการแพทย์แผนไทย. อุปกรณ์ช่วยนวดตนเองแบบพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2542.
สถาบันการแพทย์แผนไทย. มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (รพ.สส.พท.). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
ทองแถม นาถจานง. คู่มือ 34 ท่านวดตนเอง.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ขุนเขา; 2543.
Turk DC, Melzack R. Handbook of pain assessment. 2nd ed. New York: The Guiford Press;2001.
ชานันทน์ ปัญญาเอก และวิชัย อึงพินิจพงศ์. ความพึงพอใจของผใชตะขอนวดตววไลTM. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2542; 11(1):11-16
สมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย (วัดปรินายก)และคณะ. คู่มือการนวดไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2521.
ประถมพร มาตย์วิเศษ และคณะ. เปรียบเทียบผลระหว่างการนวดตนเองด้วยลูกบอลคลายปวดและการนวดตนเองด้วยมือต่อการลดความปวดบ่าและคอในพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2559; 25(2):228-236.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม