การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยพยาบาลครอบครัวและการมีส่วนร่วมของ ครอบครัวและชุมชน ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยพยาบาลครอบครัวและการมีส่วนร่วมของ ชุมชน
วิธีดาเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการ 2) พัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุ ติดเตียง และ 3) ประเมินกระบวนการพัฒนา ซึ่งประชากรศึกษาและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยวิธีการสุ่ม อย่างง่าย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชุดได้แก่ แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบทดสอบความรู้ แบบ ประเมินทักษะและ แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการการรับรู้และการฝึกทักษะเพื่อการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงคิดเป็นร้อยละ 100 การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย การจัดการ ความรู้ กิจกรรม บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประเมินผล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้หลังเข้า กระบวนการสูงกว่าก่อนเข้ากระบวนการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยคะแนน ทักษะในการดูแลผู้สูงอายุติด เตียงไม่ตากว่า ร้อยละ 80 และมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงหลังเข้ากระบวนการสูงกว่าก่อนเข้ากระบวนการการดูแลผู้สูงอายุโดย พยาบาลครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : กระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง พยาบาลครอบครัว การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
References
วรรณภา ศรีธัญรัตน์ และลัดดา ดาริการเลิศ.แนวปฏิบัติ ในการบริการผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ : บริษัทสหมิตรพริ้น ติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด ; 2553.
คลินิกหมอครอบครัว.แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอ ครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. สืบค้นจาก https:// www.ato.moph.go.th/sites/defult/files/ download/ primary% 20care% 20cluster. guide%20%28pcc%29.pdf. [12 ธันวาคม 2560].
กรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข.คู่มือระบบการดูแล ระยะยาวด้านสาธารณสุข สาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกัน สุขภาพ (สปสช.) ; 2560.
จินตนา มีกุศล.สถิติการดำเนินงานผู้สูงอายุในเขตตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีงบประมาณ 2559. ฉะเชิงเทรา :โรงพยาบาล บางปะกง ; 2559.
Yalom, I. D. The theory and practice of group psychotherapy (4th ed.). New York: Basic Books;1995.
กนกศร จาดเงิน.การพัฒนาระบบการฝึกอบรม สาธารณสุขผ่านเว็บ เพ่อพัฒนาทักษะการประเมิน ผป่วยจตเภทและความผดปกตทางอารมณ สาหรบเจ้า หน้าท่สาธารณสุขชุมชน กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา -ธิราช; 2559.
8. จินดา รัตนกุล ภัชราภร บุญรักษ์และประไพ บุญย์เจริญเลศ. ผลของโปรแกรมการเรยนร แบบใฝรของผดแลตอ ความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง.วารสารกองการพยาบาล 2556 ; 40 (1) : 9-23.
9. วิภา เพ็งเสง่ยม และคณะ.การพัฒนาโปรแกรมการ สร้างเสริมพลังอำนาจ ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ติดเตียงในชุมชน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560 ; 18(3) : 83 - 95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม