ผลการรักษาโรคมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความเสี่ยงต่ำที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • เมธาสินี โพธิสุวรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์งานวิจัย เพื่อศึกษาผลการรักษาโรคมะเร็งเนื้อรกของผู้ป่วยมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความเสี่ยงต่ำที่โรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

วิธีการศึกษา Retrospecive  cohort  study  กลุ่มตัวอย่างคือสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความ เสี่ยงต่ำที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2561 และเป็นผู้ป่วย ที่มีผลทางพยาธิวิทยายืนยันว่าเป็น hydatidiform  mole, invasive mole  หรือ choriocarcinoma จำนวน 30 ราย สถิติ วิเคราะห์ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Odds ratio และ survival curve

ผลการศึกษ ผู้ป่วยมะเร็งเนื้อรกมีอายุเฉลี่ยที่ 32.36 ปี ส่วนใหญ่เป็นครรภ์แรก ร้อยละ 33.33 การตั้งครรภ์ก่อนหน้าจะเป็น มะเร็งเนื้อรกพบว่าเป็น  complete  hydatidiform  mole  (CHM) สูง ร้อยละ 76.67 ค่าฮอร์โมน B-hCG เมื่อวินิจฉัยมะเร็งเนื้อรก มีค่าไม่เกิน 1,000 mIU/ml  ร้อยละ  46.67 (mean  29,910.92) กลุ่มตัวอย่างเป็น  stage 1 ท้งหมด WHO prognostic score ส่วนใหญ่คือคะแนนที่ 2 เป็น ร้อยละ 33.33 ในการรักษาด้วยยาเคมีบาบัดครั้งแรกได้ยา methotrexate และ actinomycin-D ในจำนวนเท่าๆกัน คือ ร้อยละ 50 ส่วนใหญ่ร้อยละ 26.7 ได้ยาเคมีบาบัดชนิดแรกจำนวน 5 cycles การวินิจฉัย ว่าหายจากโรคส่วนใหญ่อยู่ที่สัปดาห์ที่ 6, 7 และ 8 เท่ากันคือร้อยละ 13.3 มีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 16.67) ที่ไม่ตอบสนอง ต่อยาเคมีบำบัดตัวแรก แต่เมื่อเปลี่ยนมาให้ยาเคมีบาบัดตัวที่สอง ผู้ป่วยทั้งหมดตอบสนองต่อการรักษา

กลุ่มที่ได้ยาเคมีบาบัดตัวแรกจำนวนไม่เกิน 5 รอบ จะมีอัตราการหายจากโรคมะเร็งเนือรกกลุ่มความเสี่ยงตา ในช่วงเวลาต่อไป เท่ากับ 989.76 เท่าของกลุ่มที่ได้ยาเคมีบำบัดตัวแรกมากกว่า 5 รอบ (p < 0.01) กลุ่มที่ได้ยาเคมีบาบัดตัวแรกตัวเดียว  จะมีโอกาส หายจากโรคมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความเสี่ยงต่ำ   ในช่วงเวลาต่อไปเท่ากับ 4.78 เท่าของกลุ่มที่ได้ยาเคมีบำบัดสองตัวขึ้นไป (p < 0.01) และกลุ่มที่มีค่า B-hCG น้อยกว่า 1,000 mIU/ml จะมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ในช่วงเวลาต่อไปเท่ากับ 3.04 เท่าของกลุ่มท่มีค่า B-hCG ตั้งแต่ 1,000 mIU/ml ข้นไปเสมอ (p=0.03) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปีมีโอกาสได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเนื้อรกด้วยผลทางพยาธิวิทยาเป็น 16 เท่าของผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี (p= 0.01)

รุป ผลการรักษาโรคมะเร็งเนื้อรกของผู้ป่วยมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความเสี่ยงต่ำที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ผู้ป่วย ทั้งหมดมีอัตราการหายทุกราย  (ร้อยละ 100) โดยปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการหายจากโรค คือ กลุ่มที่ได้ยาเคมีบาบัดตัวแรก จำนวนไม่เกิน 5 รอบ กลุ่มที่ได้ยาเคมีบำบัดตัวแรกตัวเดียว และกลุ่มที่มีค่า B-hCG น้อยกว่า 1,000 mIU/ml

คำสำคัญ   : ผลการรักษา, โรคมะเร็งเนื้อรกของผู้ป่วยมะเร็งเนื้อรกกลุ่มความเสี่ยงต่ำ, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

References

Gueye M, Ndiaye-Gueye MD, Kane-Gueye SM, Gassama O, Diallo M, Moreau JC. Diagnosis, Treatment and Outcome of Gestational Trophoblastic Neoplasia in a Low Resource Income Country. Int J MCH AIDS. 2016;5(2):112-8.

Yanaranop M, Potikul C, Tuipae S. A 10-Year Clinical Experience of Gestational Trophoblastic Disease at Rajavithi Hospital,2001-2010. J Med Assoc Thail. 2016 Feb;99
Suppl 2:S17-27.

Turkmen O, Basaran D, Karalok A, Kimyon GC,Tasci T, Ureyen I, et al. Factors related to treatment outcomes in low-risk gestational neoplasia. Tumori. 2017 Mar 24;103(2):177-81.

Hoekstra AV, Lurain JR, Rademaker AW, Schink JC. Gestational trophoblastic neoplasia: treatment outcomes. Obstet Gynecol. 2008
Aug;112(2 Pt 1):251-8.

Wairachpanich V, Limpongsanurak S, Lertkhachonsuk R. Epidemiology of Hydatidiform Moles in a Tertiary Hospital in Thailand over Two Decades: Impact of the National Health Policy. APJCP. 2015;16(18):8321-5.

Maria A., Shebiney ME, Sadaka E, Ramadan M.Treatment Outcome of Gestational Trophoblastic Neoplasia. J Am Sci. 2012; 8(11):261-7.

AI-Husaini H, Soudy H, Darwish A, Ahmed M, Eltigani A, Edesa W, et al. Gestational trophoblastic neoplasia: treatment outcomes from a single institutional experience. Clin Transl Oncol Off Publ Fed Span Oncol Soc Natl Cancer Inst Mex. 2015 May;17(5):409-15.

Suprasert P, Siriaree S, Manopunya M. Outcomes of Metastatic Gestational Trophoblastic Neoplasia: Fourteen Year Experience from a Northern Thailand Tertiary Care Center. Asian Pac J Cancer Prev [Internet]. 2016 [cited 2017
Jul 2];17. Available from: http://www.readcube. com/articles/10.7314/APJCP.2016.17.3.1357

Verhoef L, Baartz D, Morrison S, Sanday K, Garrett AJ. Outcomes of women diagnosed and treated for low-risk gestational trophoblastic neoplasia at the Queensland Trophoblast Centre (QTC). Aust N Z J Obstet Gynaecol. 2017 Aug;57(4)458-463.

Hussain A, Aziz SA, Bhatt GM, Lone AR, Hussain HI, Wani B, et al. Gestational Trophoblastic Neoplasia: Experience from a Tertiary Care Center of India. J Obstet Gynaecol India. 2016 Dec;66(6):404-8.

Ngan HYS, Seckl MJ, Berkowitz RS, Xiang Y, Golfier F, Sekharan PK, et al. Update on the diagnosis and management of gestational trophoblastic disease. Int J Gynaecol Obstet Off Organ Int Fed Gynaecol Obstet. 2015 Oct;131 Suppl 2:S123-126.

Berek JS, Hacker NF. Berek&hacker’s GYNECOLOGIC ONCOLOGY. 6th ed. Vol. 2015. China; 2015.

ธระพร วฒยวนช, ธระ ทองสง, จตพล ศรสมบรณ์, ประภาพร สประเสรฐ, สายพณ พงษธา, และคณะ. นรีเวชวิทยา ฉบับสอบบอร์ด. 4th ed. Vol. 2559. กรุงเทพฯ: บริษัทลักษมีรุ่ง; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20