ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ลำเจียก กำธร
  • โสภิต สุวรรณเวลา
  • เนาวรัตน์ สิงห์สนั่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการ ดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน

วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากร ที่เป็นผู้ดูแลที่นำผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรังมารับการรักษาที่แผนกจิตเวชผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลตรัง จานวน 180 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้าน ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลวิจ พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้านของผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมการดูแลที่ปฏิบัติมากทื่สุด คือการดูแลด้านจิตสังคม (M=3.22,SD=.26) รองลงมา คือ ด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของรางกาย (M=3.22,SD=.26) และ กลุ่มพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุด  คือ ด้านจิตวิญญาณ (M=2.85,SD=.56) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า เพศและ อายุ        สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่บ้านได้ร้อยละ 25

สรุป การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน  ให้มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตสังคมและจิตวิญญาณล้วนเป็น ส่งท่สาคัญ รวมท้งการดูแลที่เป็นความเฉพาะของผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วยในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย  ที่ให้ความสาคัญในการดูแลบุคคลในครอบครัว ด้วยความรัก ความห่วงใยเอื้ออาทรและมีจิตสำนึกในการดูแล ไม่ใช่เพียงแค่การมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาเท่านั้น

คำสำคัญ  : ผู้ดูแล, ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, พฤติกรรมการดูแล

References

กรมสุขภาพจิต. สถิติผู้ป่วยจิตเวช. สืบค้นเม่อ 24 สิงหาคม 2559, จาก http://www.dmh.go.th/report/ report1.asp

มาโนช หลอตระกล. โรคจตเภท(Schizophrenia). สบคน เมื่อ 11 ตุลาคม 2559, จาก http://med.mahidol. ac.th

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. โรคจิตเภทและโรคจิตอ่นๆ. พิมพ์คร้งท 2. กรุงเทพฯ: บียอยด์ เอนเทอร์ไพรซ์; 2552.

นงลักษณ์ วรรักษ์ธนานันท์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ ตราบาปในผู้ป่วยโรคจตเภท. วทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวิชาพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวชมหาวิทยาลับูรพา; 2546.

เกษศิรินทร์ ภู่เพชร อรวรรณ หนูแก้ว และศรีสุดา วนาลีสิน. ผลของโปรแกรมการระลึกความหลังต่อ ความหวังในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข เครือข่ายภาคใต้ 2559: 5(1): 15-34.

ยาใจ สิทธิมงคล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพ่อ ส่งเสริมผู้ป่วยจิตเภทให้ความ ร่วมมือในการทานยา ตามแผนการรักษา. นครปฐม: โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิตมหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

United Nations Population Fund.The Impact of Demographic Changes in Thailand: the Situation and Policy Recommendations. Bangkok: United Nations Population Fund; 2010.

โรงพยาบาลตรัง. สถิติผู้ป่วยจิตเภท แผนกจิตเวช. ตรัง: ฝ่ายเวชระเบียน โรงพยาบาลตรัง; 2559.

รัตน์ศิร ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิด สู่การประยุกต์ใช้. พิมพ์คร้งท 1. กรุงเทพฯ. สานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์; 2551.

บุญวดี เพชรรัตน์ และคณะ. ความสามารถของผู้ดูแล ในการฟื้นฟูทักษะทางสังคม. วารสารสุขภาพจิตแห่ง ประเทศไทย 2554 : 19(3): 181-190

ตันติมา ด้วงโยธา. การศึกษาและพัฒนาความหยุ่นตัว ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยการให้คาปรึกษาเป็นราย บุคคล. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ (เน้นวิจัย) บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2553.

สุรดา จันดีกระยอม. ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในผู้ป่วยจิตเวชท่มารับบริการท โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2559 : 9(1):716 -726.

เทียนทอง หาระบุตร. ปัจจัยคัดสรรท่มีความสัมพันธ์กับ พลงสขภาพจตของผ ดแลผ ป วยจตเภทในชมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา การพยาบาลสุขภาพจิตและจตเวช คณะพยาบาล ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2555.

นาถฤดี เด่นดวง. เพศ (SEX) ความเป็นหญิงความเป็น ชาย (GENDER) การขัดเกลาทางสังคม (SOCIALLIZA TION) และความเสมอภาคหญิงชาย (GANDER EQUALITY). สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.owf.go.th/wofa

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20