ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน ของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย ของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบติงานในการบันทึกเวชระเบียนผู้ปวยใน จำนวน 101 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน และแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน จำนวน 101 ฉบับ โดยสุ่มตัวอย่าง อย่างเป็นระบบ ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน, แบบสอบถามความรู้ด้านการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน แบบสอบถามทัศนคติต่อการบันทึกเวชระเบียน ผู้ป่วยใน และแบบสอบถามการปฏิบัติในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน, ทัศนคติต่อการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน และ การปฏิบัติในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.40, 71.30 และ 46.50 ตามลำดับ ส่วนปัจจัย ที่ส่งผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน ของทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ ตัวแปรอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปร ประสบการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = .941, p = 0.00) และมีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับตัวแปร การปฏิบัติในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 (r = -.202, p = 0.04) ส่วนตัวแปรการ ปฏิบัติในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = .299, p = 0.02)
คำสำคัญ : ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, คุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน
References
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. ภาควิชาชีวสถิติ และประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2534.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการ บันทึกและตรวจประเมินคุณภาพ บันทึกเวชระเบียน ฉบับปรับปรุง ปี 2557. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2557.
Bloom, BS. Mastery learning. Evaluation Comment, 1(2). Los Angeles: University of California at Los Angeles, Center for the Study of Evaluation of Instructional Programs; 1968.
Best, JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Clift, N.J.: Prentice Hall; 1977.
ธารินี ศิริวัลย์. การพัฒนากระบวนการนิเทศการบันทึก การพยาบาล โรงพยาบาลพบพระ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2557; 8(3) (ฉบับพิเศษ): 187-199.
พรชนก ขนชะรุ.ความสัมพันธ์ระหวางความรู้เกี่ยวกับการ บันทึกการพยาบาลกับคุณภาพการ บันทึกการพยาบาล ของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.
อุไรพร โคตะมี. การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของ ผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลไชยวาน อำเภอ ไชยวาน จังหวัดอุดรธานี [ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2560.
จิตรศิร ขันเงิน. ปัจจัยท่มีอิทธิพลต่อความต้งใจเขียน บันทึกทางการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลท่วไป เขต 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2552.
โอเล็ต ศรีมุกดา.ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการ บันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลโรงพยาบาลคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. พยาบาลสาร 2558; 42(1) : 141-152.
พิมพ์พรรณ อุดมสุข. ความสัมพันธ์ของอัตมโนทัศน วิชาชีพพยาบาลกับ ความรู้ เจตคติ และทักษะในการ บันทึกทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลหล่มสัก. [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัย นเรศวร; 2559.
รภิญญา วิเชียรพักตร์, วรรณชนก จันทชุม และ บุศรา กาญจนบัตร. องค์ประกอบปัจจัยในการบันทึกการ พยาบาลที่มีคุณภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชมชน เขต 11. วารสารวิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดขอนแก่น 2551; 1(3) : 59-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม