การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อค จากการเสียเลือด กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อนงค์ คำบุตดา

บทคัดย่อ

ความเป็นม ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน เป็นภาวะฉกเฉินทางศัลยกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยเสีย ชีวิตได้จากการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว การพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม การวินิจฉัยภาวะเลือดออกได้อย่างรวดเร็ว จะสามารถ ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อคและลดอัตราการเสียชีวิตได้

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อคจาก การเสียเลือด

วิธีดำเนินงาน การศึกษากรณีศึกษาผู้ป่วย  2 รายเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อคจากการเสียเลือด  ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง  โรงพยาบาลมหาสารคาม เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2560 จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากเวช ระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน จากพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลในระยะวิกฤต ระยะต่อเนื่องและระยะการวางแผนจำหน่าย

ผลการศึกษ เปรียบเทียบผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อคจากการเสียเลือด กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทยอายุ 70 ปี มาด้วยอาการถ่ายดำประมาณ 4 ครั้งต่อวัน ก่อนมาโรงพยาบาล 5 วัน แพทย์วินิจฉัย Acute  Upper  Gastrointestinal  Bleeding  with Hypovolemic  shock และหลังการส่องกล้องผู้ป่วยมี re-bleeding อาการทรุดลง ทำให้ต้องทำการผ่าตัดเปิดช่องท้องเพื่อหยุดเลือด ผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทยอายุ 79 ปี มาด้วยถ่ายดำ เหนื่อยอ่อนเพลียมา 2 วัน ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงตั้งแต่อยู่โรงพยาบาลชุมชน แพทย์ให้การ resuscitation และใส่ท่อช่วยหายใจก่อนส่งต่อมาผู้ป่วยรายนี้ได้รับการส่องกล้องเมื่ออาการคงที่ และ จำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

สร กรณีศึกษาน้ทาให้เห็นกระบวนการการดูแลผู้ป่วยท่อยู่ในภาวะวิกฤตอย่างใกล้ชิดของพยาบาลจนส่งผลให้ผู้ป่วยได้ รับความปลอดภัย

คำสำคัญ   : ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน, ช็อคจากการเสียเลือด, ภาวะเลือดออกซ้ำ

 

References

บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์, วัลภา คุณทรงเกียรติ, และภาวนา กีรติยุวงศ์. ปัจจัยท่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม สุขภาพของผู้ป่วยท่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนต้นซ้ำ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา, 2559; 24(1) 51-64.

Candid Villanueva, Alan Colomo, Alba Bosch, Mar Concepcion, Virginia Hernandez-Gea, Carles Aracil, et.al. Transfusion Strategies for Acute Upper Gastrointestinal Bleeding. The New England Journal of Medicine, 2013; 368,11-21.

Zhang, C., Ciu, M., Xing, J., Shi, Y., & Su, X.Massive gastrointestinal bleeding caused by a giant gastric inflammatory fibroid poplyp: A case report. International journal of Surgery Case Report, 2014; 571-573.

Valkhoff, V.E., & Sturkenboom, M.C. Risk factors for gastrointestinal bleeding associated with low-dose aspirin. Best Practice and research Clinical Gastroenterology, 2012; 25(3), 125-140.

Fletcher EH., Johnston DE., Fisher CR., Koerner RJ., Newton JL., Gray CS. Systematic review: Helicobacter pylori and the risk of upper gastrointestinal bleeding risk in patients taking aspirin. Alimentary pharmacology & Therapeutic, 2010 ; 32(7) 831-9.

Thad Wilkins., Naiman Khan., Akash Nabh., & Robert R. Schade. Diagnosis and management of upper gastrointestinal bleeding. American Family Physician, 2012; 85(5) 469-476.
สุนันทา พนมตวง, ชนกพร จิตปัญญา. การบาบัดทางการ พยาบาลในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เคร่องหายใจ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเปนระบบ. วารสาร พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2554; 22(1) 58-71.

ทนันชัย บุญบูรพงศ์. การดูแลผู้ป่วยท่ใช้เคร่องช่วยหายใจ : การบำบัดระบบหายใจในเวชปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20