พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จงรัก ทองน้อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2  ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รูปแบบและวิธีการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive Cross – sectionalstudy) กลุ่มเป้าหมายคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน163คนเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติด้านการควบคุมอาหารแบบสัมภาษณ์ความถี่ในการบริโภคอาหารประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ดัชนีมวลกายโดยใช้เกณฑ์คนเอเชียเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม  2558 ถึงเมษายน  2559วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่  ร้อยละ  คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา:  พบว่าผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ51.5 เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 61 ปี   ส่วนใหญ่มีสถานภาพคู่ร้อยละ 68.7 ระยะเวลาเป็นเบาหวาน  0-5  ปีร้อยละ 71.8  ส่วนใหญ่มีระดับคะแนนความรู้ปานกลางร้อยละ 55.8 มีระดับคะแนนทัศนคติปานกลางร้อยละ 62.6ระดับคะแนนผู้ป่วยเบาหวานควบคุมอาหารบ้างไม่ควบคุมบ้างร้อยละ 65.64  รับประทานครบทั้ง 3 มื้อ ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานข้าวจ้าวเป็นหลักร้อยละ 80.98   ในด้านความถี่การบริโภคอาหารผู้ป่วยส่วนใหญ่บริโภคข้าวขัดขาว   หมู และนมจืดทุกวันร้อยละ62.64, 92.02และ 61.35ตามลำดับบริโภคอาหารประเภทผัดทุกวันร้อยละ50.92  ผู้ป่วยมีภาวะอ้วน (BMI ≥25.0 kg/m2)ร้อยละ53.9 และมีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ≥  130   mg/dl  ร้อยละ 61.97 

คำสำคัญ  :  พฤติกรรม,ภาวะโภชนาการ,ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2 

References

สุพรรณ ศรีธรรมมา. กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี ; 2555.

ราม รังสินธ์ และคณะ. ผลการศึกษาการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2553 – 2555 : 33 -60 .

มยุราอินทรบุตร. การรับรู้และการปฏิบัติด้านการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโภชนาการ
ชุมชนบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น :ขอนแก่น ; 2550.

โรงพยาบาลเกาะสมุยข้อมูลฝ่ายทรัพยากรบุคคล จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2559.(เอกสารสำเนา)

ธิรยาวชีรเมธาวี. ความสัมพันธ์ของปัจจัยนำปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในโรงพยาบาลขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

วาสนาธรรมวงศา. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมโหสดนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2554: 45

ธมารินทร์เงินทิพย์. ทัศนคติด้านการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลไสยจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ
สุขภาพ; 2553 : 3(2), 40-45.

รติรัตน์ กสิกุล.ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารตามการนับคาโบไฮเดรตและอาหารที่ได้รับของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับคำปรึกษาวิธีนับคาโบไอเดรต.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ,ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม –เมษายน 2557:…..-……

วิไลลักษณ์ไทยศิริ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตนระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการในคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาล.ปากช่องนานาส.บ.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2550.

ศรีวิทย์นราธรสวัสดิกุล. ผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ติดตามการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลพิจิตร: การศึกษาระยะเวลา1 ปี. วารสารวิชาการสาธารณสุข; 2551: 17(3), 470-476.

ศุภลักษณ์ฮามพิทักษ์. พฤติกรมมการบริโภคอาหารและการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีและไม่ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงแทรกซ้อนที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลสุวรรณคูหาจังหวัดหนองบัวลำภู.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21