การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก ในบริบทโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • จุลินทร ศรีโพนทัน
  • วิไลพร พิณนาดิเลย์
  • ปรมาภรณ์ รัตนะวงศะวัต
  • กนกวรรณ เจริญศิริ
  • นิสากร วิบูลชัย
  • มลฤดี แสนจันทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก

วิธีดำเนินการวิจัย  เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกทุกคนที่ต้องส่งต่อ และพยาบาลวิชาชีพที่ส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก จำนวน 11 คน เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน และพนักงานขับรถ 10 คน โรงพยาบาลมหาสารคาม ทำการศึกษาระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2558 ถึง เดือนพฤษภาคม 2559 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวทางสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาล แบบบันทึกการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ค้นหาปัญหา พบว่า พยาบาลขาดสมรรถนะในการแปลผลคลื่นไฟฟ้าและการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ การขอคำปรึกษาไม่ชัดเจน และรถ Ambulanceไม่พร้อมใช้งาน 2) การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก ใช้วงจร PAOR วงรอบที่ 1มีการพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ การพัฒนาแนวทางการส่งต่อการขอคำปรึกษา และการเตรียมความพร้อมของรถ Ambulance การสะท้อนผลพบว่า ระหว่างการนำส่งไม่มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อุปกรณ์ไม่พร้อมใช้งาน วงรอบที่ 2 พัฒนาแนวทางการพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วย การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่อง defibrillator สำรอง และการจัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย การสะท้อนผลพบว่า กรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนควรมีแพทย์นำส่งด้วยทุกครั้ง และควรจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยของรถ Ambulance ขณะส่งต่อผู้ป่วย และวงรอบที่ 3 พัฒนาความปลอดภัยของรถ refer สะท้อนผลพบว่ามีการกำหนดมาตรฐานรถส่งต่อตามหลัก BWAGON  3) การประเมินผล พบว่า อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ขณะนำส่ง ร้อยละ100  การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 0 ดังนั้น จึงควรพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยให้ครบทั้งด้าน ทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ กระบวนการจัดการ และงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย ลดการเสียชีวิตในขณะส่งต่อได้

คำสำคัญ: กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, รูปแบบการส่งต่อ

References

. เกรียงไกร เฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ย. 2558]. แหล่งข้อมูล : http://www.cdi.thaigov.net/cdi/folder_a/folder_f/1aa.pdf.

Okravi, M (2000) " Cause for Pre-hospital and In-hospital Delays in Acute Myocardial Infarction at Tehran Teaching Hospitals ". Australian Emergency Journal. 1, 5 (April) : 21-26 .

Quinn. T., Thomson R. D. (1995) " Administration of thrombolytic therapy to patients with acute myocardial infarction ". Retrieved July 25, 2010. From linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/0965230295900063

สุพจน์ ศรีมหาโชตะ (2551) " What Have We Leaned from Thai ACS Registry?" ใน ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา บรรณาธิการ CARDIOLOGY 2008 หน้า 83-109 กรุเทพมหานคร ไชยาฟิล์ม จำกัด

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1990). The action research reader (3rd edition). Geelong: Deakin University Press.

จิราพร มณีพราย. การพัฒนาเครือข่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง (STEMI) จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24:5: 907-920.

จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, ศรีสุรีย์ สูนพยานนท์, อัญชลี คงสมบุญ. การพัฒนาระบบส่งต่อช่องทางด่วนผู้ป่วย STEMI จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2559; 6: 1-14.

สมชาติ โตรักษา. การทำงานประจำให้เป็นผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2554; 39: 109-32.

จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์. บทความทางวิชาการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา Fast Track STEMI ประเทศไทยฉบับผู้บริหารตามโครงการวิจัยประเมินผลเพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ด้านโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน): ชุดโครงการวิจัยเพื่อการประเมินและพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) และเครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2552.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ. การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย: สมรรถนะพยาบาล CVT. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทย์การพิมพ์; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21