สาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนและ/หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กส่วนใหญ่มีสาเหตุจากพยาธิสภาพในทางเดินอาหาร ปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าผู้ป่วยภาวะดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องตรวจหารอยโรคในทางเดินอาหารเพื่อหาสาเหตุซึ่งมีได้หลากหลายทั้งโรคของทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลายรวมทั้งมะเร็งทางเดินอาหาร แต่มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยดังกล่าวไม่ได้ทำการส่องกล้อง การศึกษานี้จึงทำเพื่อศึกษาสาเหตุของภาวะดังกล่าวจากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหารอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหารอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี รวมถึงวิเคราะห์ว่าปัจจัยต่างๆ อันได้แก่อายุ ระดับฮีโมโกรบินและการตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบพยาธิสภาพและความสัมพันธ์กับการตรวจพบมะเร็งหรือไม่
วิธีการ : การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย 164 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนและ/หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558
ผลการศึกษา : ผู้ป่วย ร้อยละ 67.7 ตรวจพบพยาธิสภาพที่สามารถอธิบายสาเหตุได้โดยสาเหตุที่พบมากที่สุดคือภาวะกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบแบบมีเลือดออกหรือมีการกัดกร่อน (hemorrhagic/erosive gastritis or duodenitis) (ร้อยละ 35.4) แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (ร้อยละ 15.2) และมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (ร้อยละ 10.4) ตามลำดับ และพบว่าอายุ ระดับฮีโมโกลบินและการตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระไม่สัมพันธ์กับการตรวจพบพยาธิสภาพหรือการตรวจพบมะเร็งทางเดินอาหาร
References
Powell N, McNair A. Gastrointestinal evaluation of anemic patients without evidence of iron deficiency. Eur J Gastroenterolhepatol 2008;20:1094-100.
Zuckerman GR, Prakash C, Askin MP, Lewis BS. AGA technical review on the evaluation and management of occult and obscure gastrointestinal bleeding. Gastroenterology 2000;118:201-21.
Goddard AF, James MW , McIntyre AS, Scott BB. Guideline for management of iron deficiency anemia. Gut 2011;60:1309-16.
Rasul l, Kandel GP, An approach to iron deficiency anemia. Can J Gastroenterol 2001;15:739-47.
Stray N, Weberg R. A prospective study of same day bi-directional endoscopy in the evaluation of patients with occult gastrointestinal bleeding. Scand J Gastroenterol 2006;41:844-50.
Serefghanoglu S, Buyukasik Y, Emmungil H, et al. Identification of clinical and simple laboratory variables predicting responsible gastrointestinal lesions in patients with iron deficiency anemia. Int J Med Sci 2011;8:31-8.
Pongprasobchai S ,Sriprayoon T, Manatsanit S. Prospective evaluation of gastrointestinal lesions by bidirectional endoscopy in patients with iron deficiency anemia. J Med Assoc Thai 2011;94(11):1321-6.
Sophonthanasiri Y, Pisespongsa P, Praisontarangkul O, et al. Evaluation for gastrointestinal tract lesions in patients with iron deficiency anemia. Thai J Gastroenterol 2006;7(3):126-31.
วรายุ ปรัชญกุล. Gastrointestinal investigation in iron deficiency anemia . Clinical practice in Gastroenterology. 3rdedition .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร. 2557
Lwanga S K, Lemeshow S. Sample Size determination in health studies: A practical manual. Geneva: W.H.O. 1991; p25-42.
Wian FH, Jr., Urban JE, KefferJH,Kroft SH. Discriminating between iron deficiency anemia and anemia of chronic disease using traditional indices of iron status VS transferrrin receptor concentration. American journal of clinical pathology 2001;115:112-8.
Liu K, Kaffles AJ. Iron deficiency anemia : a review of diagnosis, investigation and management. European journal of gastroenterology &hepatology 2012;24:109-16.
Thomas JS, Dennis MJ. Gastrointestinal bleeding. Sleisenger and Fordtran’s Gastrointestinal and Liver Disease. 9thedition. Saunders Elsevier 2010;19:285-322.
Raju GS, Gerson L, Das A, Lewis B . American gastroenterological association (AGA) institute technical review on obscure gastrointestinal bleeding. Gastroenterology 2007;133:1697-1717
Fireman Z, Kopelman Y. The role of video capsule endoscopy in the evaluation of iron deficiency anaemia. Dig Liver Dis. 2004;36:97-102
Guyatt GH, Oxman AD, Ali M, Willan A, Acllroy W, Patterson C. Laboratory diagnosis of iron-deficiency anemia: an overview. J Gen Intern Med 1992;7:145-153
ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช. A 55-year old male with anemic symptoms . Problems based GI case discussion . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม