การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เพื่อลดการเกิดแผลติดเชื้อและความคุ้มค่าในผู้ป่วย ศัลยกรรมอุบัติเหตุโรงพยาบาลปักธงชัย

ผู้แต่ง

  • สาธิต บัวคล้าย

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง  :  การติดเชื้อของบาดแผลจากอุบัติเหตุต่างๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะทุพลภาพ และเป็นปัจจัยที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย การป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดแผลติดเชื้อ เป็นสิ่งที่แพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายควรให้ความสนใจ การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ร่วมกับการทำแผลตามปกติ อาจเป็นวิธีที่ช่วยลดอุบัติการณ์หรือความรุนแรงของการอักเสบติดเชื้อของแผลได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ต่อการลดแผลติดเชื้อและความคุ้มค่าในผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุโรงพยาบาลปักธงชัย

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดแผลติดเชื้อ , จำนวนวันนอนโรงพยาบาล , ค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมด ระหว่างการทำแผลรูปแบบเดิม กับการทำแผลรูปแบบใหม่ ( การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ร่วมในการทำแผล ) โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยใน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา แบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 1,411 ราย ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2554 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังกลุ่มที่ได้รับการทำแผลรูปแบบเดิม จำนวน 699 ราย และกลุ่มที่ได้รับการทำแผลแบบใหม่โดยการใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ขณะทำแผล จำนวน 712 ราย โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่มีแผลอักเสบติดเชื้อจำนวน 76 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ด้วย ค่าความถี่ ร้อยละของการเกิดแผลอักเสบติดเชื้อ

ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่า การทำแผลรูปแบบเดิม มีอัตราการติดเชื้อของบาดแผล ร้อยละ 5.29 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันในการนอนโรงพยาบาล 1.9 วันต่อคน ค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 1,967 บาทต่อคน การทำแผลรูปแบบใหม่ มีอัตราการติดเชื้อของบาดแผล ร้อยละ 5.47 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันในการนอนโรงพยาบาล 2.1 วันต่อคน ค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษา 2,278 บาทต่อคน

สรุป : การทำแผลรูปแบบใหม่โดยใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ไม่ได้ช่วยลดอุบัติการณ์การอักเสบติดเชื้อของบาดแผล จำนวนวันในการนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในโรงพยาบาลปักธงชัย

คำสำคัญ : ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ , แผลติดเชื้อ , ความคุ้มค่า

References

ประทิน ไชยศรี.หลักปฏิบัติที่ดีที่สุด (Principle of best practice) แผลติดเชื้อในการปฏิบัติทางคลินิกระดับนานาชาติที่ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์แล้ว.เอกสารประกอบการประชุม Members of the Expert Working Group : World Council of Enterstomal Therapist Journal .2008;28 (4)

พรพรหม เมืองแมน,อรรถ นิติพน.บรรณาธิการ.Advanced Surgical Wound Care Technology Dressing.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการร่วมโรงพยาบาลกรุงเทพ; 2010

จิราภรณ์ ธิโป.การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการทำแผลอุบัติเหตุในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้ใหญ่).ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2551

Heimbach D, Mann R, Engrav L: Evaluation of the burn wound management decisions. Total Burn Care, 2nd ed. WB Saunders Co, New York, 2002

Provider Synergies, L.L.C. Copyright © 2007 – 2010 : Antibiotics, Topical Review. Printed in the United States of America.

Erlich HP, Krummell T. Regulation of wound healing from a connective tissue perspective. Wound Repair Reg 1995:4; 203-210.

Levender MM, Davis SA, Kwatra SG, Williford PM, Feldman SR. Use of topical antibiotics as prophylaxis in clean dermatologic procedures. SourceCenter for Dermatology Research, Department of Dermatology, Wake Forest University School of Medicine, Winston-Salem, North Carolina 2012 Mar;66(3):445-51. Epub 2011 Aug 6.

G. Stringel, R. Bawdon, M. Savrich, L. Guertin, J. Horton. Topical and systemic antibiotics in the prevention of wound infection *. Journal of Pediatric Surgery .Volume 24, Issue 10, October 1989, Pages 1003–1006 * Presented at the 20th Meeting of the Canadian Association of Paediatric Surgeons, Ottawa, Ontario, Canada, September 21–24, 1988.

Robert Hood, Kenneth M Shermock, Pharm, Charles Emerman. A prospective randomized pilot evaluation of topical triple antibiotic versus mupirocin for the prevention of uncomplicated soft tissue wound infection. The American Journal of Emergency Medicine; Volume 22, Issue 1, January 2004, Pages 1–3

W. Briggs Hopson Jr, Louis G. Britt, Roger T. Sherman, Claude P. Ledes, The use of topical antibiotics in the prevention of experimental wound infection . Journal of Surgical Research; Volume 8, Issue 6, June 1968, Pages 261–266

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27