การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่ดี มีสุข และความผูกพัน ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาสารคาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์อัตรากำลังด้านสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาระดับความอยู่ดี มีสุข และความผูกพันของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาด้านความอยู่ดี มีสุข และความผูกพันของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ทบทวนข้อมูลจากฐานข้อมูลบุคลากร เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสำรวจเพื่อการวินิจฉัยองค์กร (Organization Diagnosis) ระดับตัวบุคคล หรือที่เรียกว่า “Emo-meter” รวบรวมข้อมูลเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2559 กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 510 คน คิดเป็นแบบสำรวจที่วิเคราะห์ได้ 461 ชุด (90.39%) ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา : การรับรู้ต่อปัจจัยสนับสนุนจากโรงพยาบาล (Perceived Organization Support) อยู่ในระดับปานกลาง=3.40 แต่ความอยู่ดี มีสุข และความผูกพัน (Emo-meter) อยู่ในระดับสูง =3.94 ส่วนใหญ่อยู่ด้วยรักและผูกพัน 68.33% รองลงมาคืออยู่ไปวันๆ 29.28% และมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ 2.39% ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญและพึงพอใจในระดับสูง ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน=3.87 งานที่ ท้าทาย=3.80 สัมพันธภาพกับหัวหน้างาน=3.67 และการสื่อสารภายในองค์การ=3.49 ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ ค่าตอบแทน สวัสดิการ และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน
สรุปผล : ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ และการรับรู้ของบุคลากรกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการบริหารจัดการบุคลากรได้ตรงปัญหาและความต้องการซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงพยาบาลต่อไป
คำสำคัญ : ความอยู่ดีมีสุข , ความผูกพันองค์กร , ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร , โรงพยาบาลมหาสารคาม
References
รายงานแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี; 2550-2559
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. http://www.hfocus.org/content/2016/03/11892
จิรประภา อัครบวร และคณะ.(2557). Emo-meter (Employee Engagement on meter) เครื่องมือการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร. โครงการ “การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำองค์กรไปสู่องค์กรสุขภาวะ”สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย;2557
รชฎ ชยสดมภ์. 2550. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร พฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อ องค์การ: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2550
Herzberg, Frederick, Mausnerm Barnard and Sydeman, Barbara. The Motivation to Work New York, John Wiley & Son, Inc., 1959.
Aon Hewitt. (2015). Say, Stay, or Strive? Unleash the Engagement Outcome You NeedRetrieve November 15, 2015 from http://aonhewitt.hu/download/ 611/file/2015driversofsaystaystrive.pdf;2015
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม