ความรู้ และเจตคติ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เพียรศรี นามไพร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ และเจตคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนจันทรุเบกษา อนุสรณ์ ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด                 

วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 345 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกรกฎคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้ และเจตคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.03 โดยส่วนใหญ่ทราบว่า ถุงยาง อนามัยเป็นการคุมกำเนิดที่สะดวกและปลอดภัยมากที่สุด ร้อยละ 82.61 ส่วนเจตคติในการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 59.13 โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดคือ หากต้องการคุมกำเนิดที่ถูกวิธีและเหมาะสมควรปรึกษาแพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 67.25

สรุป : ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าความรู้และเจตคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนมัธยมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ใน ระดับปานกลางดังนั้นควรมีการให้ความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์และจัดกิจกรรมปลูกฝังค่านิยมที่ดี ทั้งในโรงเรียน และ ชุมชน อย่างสม่ำเสมอ โดยการส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครู/อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

คำสำคัญ : การป้องกันการตั้งครรภ์, นักเรียนมัธยม

 

References

สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, วิทยา ถิฐาพันธ์ และคณะ, บรรณาธิการ. การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ ; วิกฤติเวช ปฏิบัติปริกำเนิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ . พี.เอ. ลีฟวิ่ง การพิมพ์; 2555: 143-149.

อรพินธ์ เจริญผล,บรรณาธิการ. การตั้งครรภ์ที ไม่ต้องการในวิกฤติเวชปฏิบัติปริกำเนิด. พิมพ์ครั้ง ที่ 2 กรุงเทพฯ. พี.เอ.ลีฟวิ่งการพิมพ์; 2555 : 157 - 162.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สภาวะการ มีบุตรของวัยรุ่นไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนา สังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์; 2555.

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่น ไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2553; 25 (4) : 5-9.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุลและสุรนาท ขมะณะรงค์. ปัจจัย ทำนายการใช้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของ วัย รุ่นที่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์. วารสารคณะ พยาบาลศาสตร์ 2551; 31(1) : 133-38.

เบญจพร ปัญญายง. การทบทวนองค์ความรู้การตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

สุมาลัย นิธิสมบัติ. การตั้งครรภ์ของมารดาวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเกษตรวิสัย. รายงานผลการ ดำเนินงานสาธารณสุขประจำปี งบประมาณ 2557. ร้อยเอ็ด: สำนักงาน สาธารณสุขอำเภอ เกษตรวิสัย; 2557.

วราภรณ์ สาวิสิทธิ์. ทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักศึกษาชั่นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559 :13(2 ) 47-56.

โฉมเฉลา น้อยเทศ. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม การคุมกำเนิดของสตรีที่สมรสแล้วศึกษาเฉพาะ กรณีนักศึกษาหญิง กศ.พป. สถาบันราชภัฏ นครปฐม[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม; 2545.

ศิริยุพา นันสุนานนท์, นิกร ดุสิตสิน. การให้ความรู้เรื่อง เพศศาสตรศึกษาในโรงเรียนมัธยม [ซีดีรอม]. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ; 2549.

วิลาวรรณ ชิณวงศ์. ความรู้และเจตคติ เกี่ยวกับการ ป้องกันการตังครรภ์ของนักเรียน มัธยมศึกษา โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม ตำบลไผ่ อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ [ วิทยานิพนธ ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2554.

สุวิทย์ เด่นศิริอักษร. อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ และภาวะ แทรกซ้อนของสตรีวัยรุ่นใน โรงพยาบาลหนองคาย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551;52(2):11-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29