ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการมาใช้บริการสุขภาพด้ำนเพศสัมพันธ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วารุณี หึมวัง
  • นิสำกร วิบูลชัย
  • วรำภรณ์ สังวะลี
  • อลิษรา ศรฬสวรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการมาใช้บริการสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม  

วิธีดำเนินกำรวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ทั้งเพศ ชายและหญิง จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูล ส่วนบุคคล 2) ทัศนคติเกี่ยวกับการมาใช้บริการสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์ 3) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง 4) การรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรม และ 5) ความตั้งใจในการมาใช้บริการสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์ โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85, 0.93, 0.83 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบ หลายขั้นตอน

ผลวิจัย : ความตั้งใจในการมาใช้บริการสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับดีมาก ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการมาใช้บริการสุขภาพด้านเพศ สัมพันธ์ของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ปัจจัยการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และทัศนคติ สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการมาใช้บริการสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์ ได้ร้อยละ 24 สรุป : ผลการวิจัยคร้งนั ี้สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์สำหรับ นักศึกษาต่อไป

คำสำคัญ : ความตั้งใจ, เพศสัมพันธ์, นักศึกษา

References

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2553; 25(4) : 5-9.

กลุ่มงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สังกัดกระทรวง สาธารณสุข. สถิติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2548 -2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์. สถิติการคลอดบุตรปี 2556. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของ มนุษย์; 2556.

ศูนย์ข้อมูโรงพยาบาลมหาสารคาม. ข้อมูลโรคติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์เอช ไอ วี และพยายามฆ่าตัวตาย จากปัญหาทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การทำแท้ง. มหาสารคาม : โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2557.

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์. รายงานข้อมูล การตรวจเลือดค้นหาเชื้อ เอช ไอ วี และนักศึกษา ที่มีปัญหาทางเพศรุนแรง. โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2557.

Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision process 1991;50(2):179-211.

เบญจพร พงศ์อำไพ, ประณีต ส่งวัฒนา, อุมาพร ปุญญโสพรรณ. ปัจจัยทำนายความตั้งใจของคู่ สมรสหญิงตังครรภ์ในการมาใช้บริการตรวจคัด กรองเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี. วารสารสภาการ พยาบาล 2552; 24(4) : 70-82.

น้องนุช ฆวีวงค์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสุขภาพ ด้านเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของเยาวชนใน จังหวัดระยอง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 20(4): 33-45.

กระทรวงศึกษาธิการ. แผนแม่บทในการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2549 [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 30 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จากwww.moe.go.th/ jarawporn/planning_ja49.html;

วารุณี ฟองแก้ว. การพัฒนาศักยภาพวัยรุ่นตอนต้นเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพทางเพศและอนามัยการ เจริญพันธุ์ : การขับเคล่ือนระหว่างเยาวชนกับ ผู้ใหญ่. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

Unicef. รายงานการศึกษาสถานการณ์การตั้งครรภ์ ของวัยรุ่นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 30 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.unicef.org/thailand/ tha/160705_SAAP_in_Thailand_report_ TH.pdf

ชยภูมิ ชูวีระเดช, วัชรพล ศิลาวรรณ, ตะวันรัตน์ รุ่งปัญญารัตน์. อิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาต่อ ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมการซือถุงยางอนามัย ของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29