การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง ในผู้ป่วยผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ผู้แต่ง

  • บุญมี สันโดษ

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลการสวนล้าง กระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่องในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตทางท่อปัสสาวะ

วิธีการศึกษา : เป็นการพัฒนาโดยใช้ Evidence based practice model ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การนำแนวปฏิบัติ ไปทดลองใช้ และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงานการศึกษา ได้หลักฐาน เชิงประจักษ์ที่ผ่านการประเมินระดับความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีหลักฐาน เชิงประจักษ์ทั้งหมดจำนวน 17 เรื่อง ผลการสังเคราะห์ในการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล 4 ขั้นตอน  คือ 1) ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและการเตรียมอุปกรณ์ 2) ขั้นตอนการพยาบาล ขณะสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง 3) ขั้นตอนการออกกำลังกายและการฟื้นฟูสมรรถภาพ  4) ขั้นตอนการหยุดสวนล้างและถอดสายสวนปัสสาวะ แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการ ตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนและนำแนวปฏิบัติฉบับยกร่างไปทดลองใช้ในผู้ป่วยผ่าตัด ต่อมลูกหมากจำนวน 10 คน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขแนวปฏิบัติให้มีความเหมาะสม ประกาศ ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฉบับสมบูรณ์ เดือนมกราคม ถึงมิถุนายน ประเมินผลลัพธ์ในผู้ป่วย ผ่าตัดต่อมลูกหมากที่หน่วยงานศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะจำนวน 40 คน แพทย์ศัลยกรรม ทางเดินปัสสาวะ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 12 คน

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมต่อการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ แบบต่อเนื่องทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เรียนรู้ในสถานการณ์เสมือนจริง ส่งผลให้การดูแลตนเองอยู่ ระดับดีมาก การเหยียดขา ไม่งอเข่า/สะโพกได้ครบตามเวลาที่กำหนด การควบคุมความปวดเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพคะแนนความปวด เฉลี่ยที่ 2 คะแนน ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยไม่ได้ฉีดยาแก้ปวด ในระยะแรกหลังผ่าตัด ตำแหน่งของบอลลูนสายสวนปัสสาวะไม่เลื่อนหลุด การปรับเปลี่ยน วิธีปฏิบัติมาใช้น้ำเกลือสวนล้างแบบ 2 ขวด กำหนดความสูงของเสาแขวนถุงน้ำเกลือ อัตรา การไหลที่เหมาะสมควบคุมตามสีน้ำปัสสาวะ ส่งผลให้การไหลของน้ำเกลือที่สวนล้างเป็นไปอย่าง คล่องตัวและต่อเนื่อง ไม่มีก้อนเลือดอุดตัน ไม่เกิดเลือดออกซ้ำหลังผ่าตัด จำนวนวันในการสวนล้าง กระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่องเฉลี่ย 2 วัน ใส่สายสวนปัสสาวะเฉลี่ย 3 วัน จำนวนน้ำเกลือ ที่ใช้สวนล้างเฉลี่ย 30,000 ซีซีต่อคน (เดิม 140,000 ซีซีต่อคน) ราคาค่าใช้จ่ายน้ำเกลือสวนล้าง เฉลี่ย 1,200 บาท (เดิมเฉลี่ย 5,600บาท) ซึ่งสามารถลดได้ถึง 3,400 บาทต่อคนหรือ 85 ถุงต่อคน ไม่พบอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.4 วัน (เดิม 8 วัน)  ไม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ เท่ากับ  97.8% อัตราความพึงพอใจของบุคลากรต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เท่ากับ 96.6% 

สรุป : ได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลสามารถใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพ 

คำสำคัญ : แนวปฏิบัติการพยาบาล การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง การผ่าตัด ต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ

References

Soukup M. The center of advance nursing practice evidence based practice model promoting the scholarship of practice. NursClin North Am 2000 ; 35(2) : 301-9.

กิตติณัฐ กิจวิลัย และเจริญลีนานุพันธุ์. ต่อม ลูกหมากโต Benign prostatic hyperplasia (BPH). ใน : วชิรคชการ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์ ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะ สืบพันธุ์ชาย. กรุงเทพมหานคร : บียอนเอ็นเทอร์ไพรซ์ ; 2547 : 382- 97.

ดนัยพันธ์ อัครสกุล. ต่อมลูกหมากโต (benign prostatic hyperplasia). ใน : วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์และคณะ.บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการ คลินิกผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2548 : 170-84.

บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์. The management of prostate obstruction : How to determine the best options (การรักษาภาวะอุดตัน เนื่องจากต่อมลูกหมาก : ทางเลือก ที่ดีที่สุดในการเลือกวิธีการรักษา). เอกสารเสนอ บันทึกการประชุม วิชาการเรื่อง New perspective on the management of men with LUTS and BPH ; 22 มีนาคม 2552 ; โรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่ : 2552 : 6-10

Berry, S. J., Coffey, D. S., Walsh, P. C. & Ewing, L. L. The development of human benign prostatic hyperplasia with age. Journal of Urology 1984 ; 132(3) : 474-79.

American Urological Association. Guidelines on management of benign prostatic hyperplasia, chapter 1 : Diagnosis and treatment recommendation. Commonwealth FundNew York, 2008. (cited 10 August 2012). Available from : URL : http:// www.reports/management/chapt _1_appendix.pdf

Nojiri Y, Okamura K, Kinukawa T, Ozawa H, Saito S, Terai A, et al. Continuous bladder irrigation following transurethral resection of the prostate(TURP). British Journal of Urology 2007 ; 49(7) : 689-93.

สุพจน์ วุฒิการณ์. Benign prostate hyperplasia Common problems in urology. เชียงใหม่ : ภาควิชา ศัลยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2543.

ภาณุ อดกลั้น, วัจนา สุคนธวัฒน์, ยุคลธร ทองตระกูล, กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ.การปฏิบัติที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (CBI) ภายหลัง การผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทาง ท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาล อุดรธานี. (รายงานวิจัย). อุดรธานี : วิทยาลัยพยาบาลอุดรธานี ; 2553.

I.R.G.Bastable,RN.Peel,D.M.Birch and B,Richards. Continuous irrigation of bladder after prostatectomy ; its effect on post–prostatectomy infection British Journal of Urology, 2001. (cited 5 September 2011). Available from : URL : http:// www.Blackwell Synergy.

สหชาติ ลีลามโนธรรม และวรพจน์ ชุณหคล้าย. ผลการดึงรั้งสายสวนปัสสาวะเป็น ระยะเวลาสั้นหลังการผ่าตัดต่อม ลูกหมากโดยวิธีส่องกล้อง. วารสาร ยูโร 2553 ; 31(1) : 21-6. 12.กีรติพล เวียงพล, เจริญ ลีนานุพันธ์, วิสูตร คงเจริญสมบัติ, สุพรรณี นิลสกุลวัฒน์. การดึงสายสวนปัสสาวะหลังจากการ ตัดต่อมลูกหมากผ่านทางการส่องกล้อง มีความจำเป็นหรือไม่. วารสารยูโร 2554 ; 32(1) : 40-6.

นางบุญมี สันโดษ. ผลการพยาบาลโดย การประยุกต์ทฤษฏีการดูแลตนเอง โอเร็มต่อความสามารถในการปฏิบัติ ตนในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกซ้อน ความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก ทางท่อปัสสาวะ. (วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขา วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2550. Hirnle. Fundamentals of

Ruth F. Craven and Constance J. Nursing : Human Health and Function. 5thEdition. Philadelphia USA : Lippincott Williams & Wilkins ; 2007.

หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม. ข้อมูล สถิติผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตที่ ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดต่อม ลูกหมากทางท่อปัสสาวะ. มหาสารคาม : โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2556

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทาง คลินิก (Clinical practice guidelines development). วารสารสภาการพยาบาล 2548 ; 20(2) : 63-74.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาล ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ : หลักการ และวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : หจก.พรี-วัน. ; 2549 : 25-48.

Audrey Berman & Barbara kozier&Shirlee J. Fundamental of Nursing : Concept, Process and Practice. New Jersey : Pearson Education Inc ; 2008.

Craig JV, Smyth RL. The evidence-based practice manual for nurses. Edinburgh, UK : Churchill Livingstone ; 2002.

MelnykBM, Fineout-Overholt E. Evidence-based practice in nursing and healthcare : a guide to best practice. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins ; 2005.

PolitDF, Beck CT. Nursing research : generating and assessing evidence for nursing practice. 8th Edition. Philadelphia USA : Lippincott Williams & Wilkins ; 2008.

Nursing Policy G-13 Continuous Bladder Irrigation, 2001. (cited 5 June 2004). Available from : URL : http://www.aci. health.nsw.gov.au/__data/assets/ pdf_file/0007/165589/Bladder- Irrigation-Toolkit.pdf

JariyaLertakyamance and others. The Risks and Effectiveness of Transurethral Resection of Prostate. Journal of the Medical Association of Thailand 2002 ; 23(2) : 110-9

พิษณุ มหาวงศ์. การฝึกกายภาพบำบัดเพื่อควบคุมการปัสสาวะ. การประชุม วิชาการเรื่อง ปัสสาวะบ่อยปัสสาวะ เล็ดปัญหาที่แก้ไขได้ ; ณ ห้องประชุม 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2553.

วชิร คชการ, และอุบลรัตน์ รุ่งเรือง.การฝึกกล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานเพื่อการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่. ในวชิรคชการ. บรรณาธิการ, โรคระบบทางเดินปัสสาวะ. กรุงเทพฯ : บียอนเอ็นเทอร์ไพรซ์. 2546 : 60-70.

วชิร คชการ, อุบลรัตน์ รุ่งเรืองและกฤษดา รัตนโอฬาร. การฝึกกระเพาะปัสสาวะ. ในวชิรคชการ. บรรณาธิการ. คู่มือ การดูแลผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะไม่อยู่. กรุงเทพมหานคร : บียอนเอ็นเทอร์ไพรซ์ ; 2546 : 51-6.

Dorey G., Speakman M., Feneley R.,Swinkels A., Dunn C., & Ewings P. Pelvic floor exercises for treating post-micturition dribble in men with erectile dysfunction : A randomized controlled trial. Urologic Nursing 2004 ; 24(6) : 490-512.

ศศิรวดี สมบัติศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติ ทางคลินิกสำหรับการป้องกันการ ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะใน ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุม การติดเชื้อ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ; 2550.

Brown C. T.,Yap T., Cromwell D. A.,Rixson L., Steed L., Mulligan K., et al.Self management for men with lower urinary tract symptoms : randomized controlled trial. British Medical Journal 2006 ; 334 : 25-8.

Gould, C. V., Umscheid, C. A., Agarwal, R. K., Kuntz, G., Pegues, D. A.,Patrick, B., et al. Guideline for prevention of catheter- associated urinary tract infection, 2010. (cited 1 December 2010) Available from : URL :http://www.cdc.gov/hicpac/ cauti/001_cauti.html 116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02