การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด และการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอออกทั้งหมด : กรณีศึกษา 3 ราย

ผู้แต่ง

  • ผกาภรณ์ พินิจจันทรานุกูล

บทคัดย่อ

มะเร็งกล้องเสียง จะมีอาการเสียงแหบนำมาก่อนและมะเร็งช่องคอส่วนล่างมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง กลืนแล้วเจ็บนำมาก่อน มีก้อนที่คอแน่นคอการรักษาขึ้นกับระยะของโรคโดยระยะ 3,4 มักจะต้องผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดควบคู่กับการใช้รังสีรักษา ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลานานและยุ่งยาก โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีความเสี่ยงต่อชีวิตค่อนข้างมาก

การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งกล้องเสียงที่ได้รับการผ่าตัดจะทำให้สูญเสียกล่องเสียง สูญเสียหน้าที่ในการพูด สูญเสียภาพลักษณ์  การสื่อสารกับผู้อื่นลำบาก และผู้ป่วยต้องหายใจทางรูเปิดที่คอตรลอดชีวิต ภายหลังการผ่าตัดทุกราย

กรณีศึกษา : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง 3 ราย ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการ เสียงแหบ เจ็บคอ กลืนลำบาก หายใจลำบาก

ผู้ป่วยรายที่ 1 ได้รับการวินิจฉัย มะเร็งสายเสียง (Glottic carcinoma) ได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด และการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้านซ้ายออกหมด

ผู้ป่วยรายที่ 2   ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งช่องคอส่วนล่าง (Hypopharyngeal cancer) ได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมดและการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้านซ้ายออกหมด

ผู้ป่วยรายที่ 3  ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง (Tranglottal carcinoma) ได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด การตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอออกหมดทั้ง 2   ด้าน และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้านขวา ผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้รับการพยาบาลแบบองค์รวม มีการเตรียมความพร้อมก่อนทำผ่าตัด ขณะทำผ่าตัด และหลังทำผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน อยู่รักษาพยาบาลในโรงพยาบาล 10-19 วัน แพทย์พิจารณาให้กลับบ้านพร้อมนัดมารับยาพบแพทย์อีก 1 เดือน เพื่อรับการรักษาโดยรังสีรักษา อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลที่จำเป็นต้องรักษาต่อและให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยทั้ง 3 รายมารับการรักษาโดยรังสีรักษาตามแพทย์นัด

ผลลัพธ์  : ผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 3 ราย สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ   และดูแลตนเองได้ ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้เรื่องโรค การประเมินสภาพผู้ป่วย การเฝ้าระวังแก้ไขอาการผิดปกติก่อนการผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัด มีทักษะความชำนาญในอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ  การประสานงานและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค แผนการรักษาของแพทย์การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดกล่องเสียงก่อนกลับบ้าน การมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด

คำสำคัญ : การพยาบาลหู คอ    จมูก, มะเร็งกล่องเสียง,การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด

References

ปารยะ อาสนะเสน. มะเร็งกล่องเสียง.สืบค้นจาก www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/ep-l/articledetai.asp?id=1152. 28 มค. 2555.

สุภาวดี ประคุณหังสิต. บรรณาธิการ. ตำราโสต สอ นาสิกวิทยา. ฉบับเรียงใหม่.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ โฮลิสติกพับลิชชิง จำกัด ; 2550

สมจินต์ จินดาวิจักษณ์, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน,สมชาย ธนะสิทธิชัย, อาคม ชัยวีระวัฒน,และวีรวุฒิเอี่ยมส ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็ง กล่องเสียงและคอส่วนล่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งชาติกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2557.

ธีรพร รัตนาเอนกชัย, สุภาภรณ์ ศรีร่มโพธิ์ทอง.ตำรา หู คอ จมูก โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ; 2546.

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง ในคนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเอกโรคติดเชื้อ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ; 2542.

กรีฑา ม่วงทอง, ประสิทธ์ มหากิจ, ปริยนัน จารุจินดา, ภาณุวิชญ์พุ่มหิรัญ. ตำรา หู คอ จมูก. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ; 2540.

เรณู อาจสาลี. บรรณาธิการ. การพยาบาลทางห้องผ่าตัด. กรุงเทพมหานคร :คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2540.

ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์. การพยาบาล หู คอ จมูก. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ธนาเพรส ; 2552

ดรุณี ชุณหะวัต.บรรณาธิการ.การดูแลผู้ป่วย โรคหู คอ จมูก. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ หจก.วี.เจ.พริ้นติ้ง ; 2539.

เบญจมาศ ปรีชาคุณ, เบญจวรรณ ธีระเทิดตระกูล.บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ เอ.พี. ลีฟวิ่ง ; 2546.

สุเชษฐ์ ชินไพโรจน์, จักรี หิรัญแพทย์ บรรณาธิการ. การพยาบาลทางตา หู คอ จมูก ทันยุค. กรุงเทพฯ :โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์ ; 2547.

แมนสิงห์ รัตนสุคนธ์. Update Management in EENT. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์ ; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-03