การพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จุลารักษ์ เทพกลาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

วิธีดำเนินการวิจัย :  เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 409 คน   ดำเนินงานระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2561 – ธันวาคม พ.ศ. 2561    เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่  ระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอกเพื่อการรักษาที่นำมาใช้ในโรงพยาบาลอุบลรัตน์   คือ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2 คำถาม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าไคสแควร์

ผลการศึกษา :   ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.19 ) อายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 55.26)  โรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูงและเบาหวาน  ผลการคัดกรองด้วย 2Q  พบผู้เสี่ยง 109 คน (ร้อยละ 26.65) ผลประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q พบผู้เสี่ยง 26 คน (ร้อยละ 6.35) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญมี 2 ปัจจัย ได้แก่ การมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค และมีรายได้น้อย และช่วงหลังพัฒนามีผู้สูงอายุมารับบริการที่งานผู้ป่วยนอก 267 คน ได้รับการคัดกรองด้วยแบบทดสอบ 2Q จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 100   ซึ่งเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น ครอบคลุมทุกรายที่เข้ารับบริการได้รับการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 267 คนคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น จํานวนผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า 21 คน คิดเป็นร้อยละ 7.86 และได้รับการรักษาทุกรายคิดเป็นร้อยละ 100

คำสำคัญ : ระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า

 

References

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. แนวทางการดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าและผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง;2553.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้น จำกัด; 2554.

มาโนช หล่อตระกูล,ปราโมทย์ สุคนิชญ์.บรรณาธิการ.จิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ:คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2555.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข .แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ.พิมพ์ครั้งที่ 2 .ม.ป.ท.; 2557.

บุษราคัม จิตอารีย์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

พจนา เปลี่ยนเกิด.บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาโรคซึมเศร้า.วารสารทหารบก.2557;15:18-21.

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม.สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2552;27:27-32.

นภา พวงรอด.การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส
ราชนครินทร์2556; 2:63-74.

Berkman LF,Berkman CS,Kasl S.Depressive symptoms in relation to physical health and function in the elderly.Am J Epidemoil 2014;124:372-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-11