การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อันธิกา วาปีทะ
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด

วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Descriptive Study) โดยประชากร ศึกษาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 121 คนเครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานโดยการดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 19 – 30 มีนาคม 2561

ผลการศึกษา : พบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ภาพรวมการสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.42 (S.D.=0.23)  ส่วนการปฏิบัติงานดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.44 (S.D.=0.28) และพบว่า การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากรมีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบึงเกลือ  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  ได้ร้อยละ 34.8

คำสำคัญ : การสนับสนุนจากองค์การ, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

References

World Health Organization.(2017). Health of the elderly.ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560,จากhttp://www.emro.who.int/entity/elderly-health/index.html

Shermerhorn, R., Hunt, G. & Osborn, N. (2003). Organizational behavior. New York: Wiley;2003.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nded. New York: McGraw-Hill;1988.

Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Engle Wood Clift, N J: Prentice Hall;1977.

Elifson, Kirk W., Runyon, Richard P., & Haber, Audrey (1990). Fundamentals of social statistics. 2nd ed. McGraw-Hill, New York;1990.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ 2560-2564) กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี;2560.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2554).คู่มือการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สามเจริญพานิชย์;2554.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2559).นโยบายและทิศทางการดำเนินงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Long Term Care). กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.);2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560).แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: สำนักงาน;2560.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ. (2560). ฐานข้อมูล อสม. ปี 2559.ร้อยเอ็ด: สำนักงาน;2559.

ยุพิน อ้มพรมราช และชนะพล ศรีฤาชา, (2557). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 21(1), 31-43.

ภคอร โจทย์กิ่ง, และประจักร บัวผัน. (2560). การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนสามเหลี่ยม เทศบาลขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 24(2), 29-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-13