แบบแผนการคลอดในโรงพยาบาลโพนพิสัย พ.ศ.2545-2557
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ : อนามัยแม่และเด็กการเข้าถึงบริการสำหรับสตรีตั้งครรภ์และทารก นับเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดโดยการให้บริการคลอดที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่แตกต่างกัน จะมีแบบแผนวิธีคลอดที่ต่างกันและเมื่อมีการยกระดับโรงพยาบาลและขยายขอบเขตการให้บริการจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนของการคลอดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นการศึกษาแบบแผนการคลอดในโรงพยาบาลโพนพิสัยโดยวิธีต่างๆในโรงพยาบาลโพนพิสัย
รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการศึกษาย้อนหลัง เชิงพรรณนาถึงวิธีการคลอดในโรงพยาบาลโพนพิสัยระหว่าง พ.ศ.2545-2557(ระหว่างปีงบประมาณ 2546 - 2557)
ผลการศึกษา : ผู้มารับบริการที่ห้องคลอดโรงพยาบาลโพนพิสัย ทั้งหมด17,250 ครั้ง เป็นผู้มาคลอด 13,110 ราย เฉลี่ย 1.092.5 ราย/ปี มากที่สุด 1,290 ราย ในปีงบประมาณ 2555 น้อยที่สุด 895 ราย ในปี งบประมาณ 2553 และมีการส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าจากห้องคลอด 1,962 ราย เฉลี่ย 163.5 ราย/ปี โดยมากที่สุดในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 260 รายและน้อยที่สุดในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 62 ราย
เมื่อเปรียบเทียบการคลอดด้วยวิธีต่างๆ และการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่า พบว่ามีการคลอดปกติเฉลี่ย ร้อยละ 76.52 มากที่สุด ร้อยละ 82.51 ในปีงบประมาณ 2548 การคลอดด้วยคีมเฉลี่ยร้อยละ 0.09 สูงสุด 0.78 ในปีงบประมาณ 2547 พบว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 – 2557 ไม่มีการคลอดด้วยคีม การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเฉลี่ยร้อยละ 1.43 มากสุด ร้อยละ 2.72 ในปีงบประมาณ 2555 การคลอดท่าก้น ร้อยละ 0.42 มากสุด ร้อยละ 1.06 ในปีงบประมาณ 2550 การคลอดครรภ์แฝดเฉลี่ย ร้อยละ 0.99 มากที่สุด 1.80 ในปีงบประมาณ 2550 การผ่าตัดคลอดเฉลี่ย ร้อย 7.45 มากที่สุดร้อยละ 25.00 ในปีงบประมาณ 2557 ระหว่างปีงบประมาณ 2550-2553 ไม่มีการทำผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลโพนพิสัย การส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่า เฉลี่ยร้อยละ 13.02 มากที่สุดร้อยละ 23.24 ในปีงบประมาณ 2553
สรุป : ลักษณะของแบบแผนการคลอดสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และโรงพยาบาลควรได้รับการพัฒนาการบริการในสาขาที่สอดคล้องกัน เพื่อการให้บริการอย่างครอบคลุม
คำสำคัญ : แบบแผนการคลอด, อัตราการผ่าตัด
References
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถรียร,งามจิตต์ จันทรสาธิต, ชลดา สิทธิทูรย์. ลักษณะการคลอดในโรงพยาบาลประเทศไทย ปี 2533-2539. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2541.
Puangsricharern A,Chaonoum W. Trends in Forceps and Vacuum Deliveries in Rajavithi Hospital from 2002 to 2009. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. October; Vol. 20, pp. 198-208.
Chawanpaiboon S, Sutantawibul A. Mode of Delivery at Siriraj Hospital: A Ten-Year Review (2001-2010), Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. October 2011; Vol.19, pp.181-192
ยศ ตีรวัฒนานนท์,วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร,สัญญา ศรีรัตนะ, ปรัศนี ทิพยโสถติ.แบบแผนการคลอดบุตรของหญิงไทยในรอบ 12 ปี (พ.ศ.2533-2544). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2546;12:1-18.
ธนิตเชฎฐ รัตนาภิชาติ.อุบัติการณ์และแนวโน้มการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี. วารสารกรมการแพทย์ 2545; 27:231-7.
อุษณีย์ สวัสดิ์พาณิชย์. อัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546. ขอนแก่นเวชสาร 2547; 28:64-9.
Titapant V, Wuttivorarporn S, SawadimonGkol P. Changing trend in methods of delivery at Siriraj Hospital: a twenty – year review. สารศิริราช 2543;52:221-5.
ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, ยงยุทธเหราปัตย์, กำแหง จาตุรจินดา.การผ่าตัดทางหน้าท้อง. ใน: ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, วินิจ พัวประดิษฐ์, สุรศักดิ์ ฐานพานิชสกุล, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์รามาธิบดี. ฉบับนิพนธ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2539: หน้า 349-72.
Maternal-fetal Medicine 1989-1999, Maternal-fetal Medicine unit, Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Thailand ;2000. P.1-90.
Editorial. What is the right number of cesarean sections? Lancet 1997; 349:815
Hanvoravongchai P, Letiendumrong J, Teerawattnanon Y, Tangchaoensathien V. Implications of private practice in public hospital on the cesarean section rate in Thailand. Human Resources for Development Journal 2000; 4:2-12.
คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. การผ่าตัดคลอด: อัตราการผ่าตัด. สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา 2554; 10(2): 1-14.
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, สมเกียรติ โพธิสัตย์, ยุพิน อังสุโรจน์, จารวรรณ ธาดาเดช, ศรานุช โตมรศักดิ์. เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร.สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ; 2543. หน้า 89-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม