ผลของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการเข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ติด Methamphetamine

ผู้แต่ง

  • ลชา เรืองกิจ
  • ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
  • ประภาพรรณ จูเจริญ

บทคัดย่อ

บทนำ : การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลของแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการเข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ติด Methamphetamine ที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่สถานบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี โดยมีแบบสอบถาม 3 ชุด คือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาและการใช้ยาเสพติด และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติด Methamphetamine สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic), t - test,one way ANOVA และใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการศึกษา : พบว่าปัจจัยด้านคุณลักษณะทั่วไปส่งผลต่อระดับแรงสนับสนุนทางสังคมไม่แตกต่างกัน ส่วนประวัติการใช้ยาเสพติด มีปัจจัยด้านระยะเวลาที่ใช้ Methamphetamine ก่อนเข้ารับการบำบัดส่งผลต่อแรงสนับสนุนทางสังคมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลยังพบว่าผู้ที่เข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งครบและไม่ครบทุกขั้นตอนมีแรงสนับสนุนทางสังคมที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งแรงสนับสนุนทางสังคมที่ผู้ติด Methamphetamine ได้รับนั้นอยู่ในระดับ ปานกลาง

สรุป : ผลที่ได้ดังกล่าว สามารถทำให้ทราบว่าผู้ติด Methamphetamine ที่เข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้ง 2 กลุ่มคือเข้ารับการบำบัดครบทุกขั้นตอนกับไม่ครบทุกขั้นตอนนั้นมีแรงสนับสนุนทางสังคมที่ไม่แตกต่างกัน แต่ระยะเวลาการติด Methamphetamine กับแรงสนับสนุนทางสังคมมีความแตกต่างกัน ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการวางนโยบายในการสร้างความรู้และแนวทางการปฏิบัติให้ครอบครัวและเครือข่ายทางสังคมที่จะเข้ามาดูแลและป้องกันการติด Methamphetamine และส่งเสริมให้ผู้ติดMethamphetamine เข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อไป

คำสำคัญ : แรงสนับสนุนทางสังคม/การเข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่อง/ผู้ติด Methamphetamine

References

สานักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข . ํ ระบบรายงาน ระบบติดตาม และระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด.

ปิยวรรณ ทัศนาญชล. กระบวนการไม่เสพยาบ้าซ้ำ : กรณีศึกษา ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี.ปี 1 : 3 (กุมภาพันธ์ 2554 - พฤษภาคม) 2554.

Spielmann S, Tejagupta C. Family : restraining or contributing factors towards adolescents’ drug problems in Bangkok Metropolis.Bangkok : The national council on social
welfares of Thailand under royal patronage;2004.

Suwannanon A, Bannatham R. Personal factors related to be relapse drug users [internet]. 2007 [cited Oct 1, 2012]. Availablefrom : http://www.sri.cmu.ac.th/ ~srilocal/drugs/researchdetails. php?research_id=32

สถาบันบำบัดและรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กระทรวงสาธารณสุข (2557). รายงานจำนวนผู้บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดประจำปี 2557.ปทุมธานี.

Williams, D.R. , and House, J.S. Social Support and Stress Reduction. New York : Wiley, 1985.

Cobb, S. Social Support as A Moderator of Life Stress. Psychosomatic Medicine, 38 (August 1976) : 300 - 13.

Kahn, R.L. Aging and social support. In aging from birth to death : Interdisciplinary perspective Corolado : WestviewPress; 1979.

Thoists, P.A. Conceptual Methodological and Theoretical Problems in Studing Social Support as Buffer againt Life stress. Journal of Health and Social Behovior, 23; 1982.

ณัฐ เด่นดวงบริพันธ์. แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ใช้สารเมทแอมเฟตามีน ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยในที่สถาบันธัญญารักษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์; 2554.

ธนิตา หิรัญเทพ พบ, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, และรณชัย คงสกนธ์ พบ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่เสพยาเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556; 58 (2) : 157 - 164.

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization [WHO], 2013).

อังกูร ภัทรากร และคณะ. เปรียบเทียบผลการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ระหว่างผู้ป่วยเสพติดระบบสมัครใจบำบัด ระบบบังคับบำบัด : กรณีศึกษาธัญญารักษ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2558; 60 (1) : 71 - 81.

เรืองสิทธ์ เนตรนวลใย และคณะ. กระบวนการเข้าสู่การบำบัดรักษาเพื่อเลิกใช้ยาบ้าด้วยความสมัครใจของเยาวชนไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย 19 : 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15