อุบัติการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 - 12 เดือนที่มาด้วยอาการไข้ และชักครั้งแรกในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มิ่งขวัญ อุปนิสากร

บทคัดย่อ

บทนำ : อาการชักจากไข้ (Febrile seizure) เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในโรคทางระบบประสาทในเด็กอุบัติการณ์การตรวจพบโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กที่มาด้วยอาการไข้และชักมีร้อยละ 2 - 5

วัตถุประสงค์ในงานวิจัย : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 - 12 เดือนที่มาด้วยอาการไข้และชักครั้งแรกที่อาการชักมีลักษณะชักเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือเกร็งทั้งตัว ชักสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที ชักไม่เกิน 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง และไม่พบความผิดปรกติทางระบบประสาทหลังชักในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลด้วยการทบทวนบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ 6 - 12 เดือนที่มาด้วยอาการไข้และชักครั้งแรกที่อาการชักมีลักษณะชักเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือเกร็งทั้งตัว ชักสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที ชักไม่เกิน 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง และไม่พบความผิดปรกติทางระบบประสาทหลังชักที่ได้รับการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2557

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยที่มาด้วยไข้และชักครั้งแรกที่อาการชักมีลักษณะชักเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือเกร็งทั้งตัว ชักสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที ชักไม่เกิน 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง และไม่พบความผิดปรกติทางระบบประสาทหลังชักที่ได้รับการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง จำนวน 62 ราย เฉลี่ยอายุ 9 เดือน ร้อยละ 62.9 เป็นเพศชายมีอาการชักในวันแรกของอาการไข้จำนวน 39 ราย คิดเป็น ร้อยละ 62.9 ชักวันที่สองของอาการไข้ จำนวน 20 ราย ร้อยละ 32.3 ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิร่างกายแรกรับอยู่ในช่วง 38.1 - 39.0 องศาเซลเซียส 28 รายคิดเป็น ร้อยละ 45.2 มีประวัติญาติสายตรงมีอาการชักจากไข้ จำนวน 20 ราย คิดเป็น ร้อยละ 32.3 ส่วนใหญ่มีระยะเวลาของการชัก 1 นาที มีจำนวน 20 ราย คิดเป็น ร้อยละ 32.3 โดยลักษณะการชักที่พบมากที่สุดคือ ชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวมี จำนวน 33 ราย คิดเป็น ร้อยละ53.2 รองลงมาคือ ชักแบบเกร็งทั้งตัว 29 ราย คิดเป็น ร้อยละ 46.8 สาเหตุของไข้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน14 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.6 ผู้ป่วย 62 ราย ไม่มีอาการซึม ไม่มีอาการกระสับกระส่าย ไม่ปวดศีรษะ มีอาเจียนเล็กน้อยบางรายตรวจร่างกายทางระบบประสาทปกติคือ ขม่อมไม่โป่งตึง และตรวจไม่พบอาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง พบผลการตรวจน้ำไขสันหลังปกติเข้าได้กับภาวะชักจากไข้ 61 ราย คิดเป็น ร้อยละ 98.4 และพบผลการตรวจน้ำไขสันหลังเข้าได้กับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรีย 1 ราย คิดเป็น ร้อยละ 1.6

สรุป : อุบัติการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 - 12 เดือนที่มาด้วยอาการไข้และชักครั้งแรกที่อาการชักมีลักษณะชักเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือเกร็งทั้งตัว ชักสั้นๆไม่เกิน 15 นาที ชักไม่เกิน 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง และไม่พบความผิดปรกติทางระบบประสาทหลังชักคือ ร้อยละ 1.6 จึงยังคงมีความจำเป็นในการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้ผู้ป่วย
จะไม่มีอาการที่บ่งชี้ว่าจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็ตาม ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและพิการทางสมองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

คำสำคัญ : ชักจากไข้ครั้งแรกชนิด simple febrile seizure, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

References

ณรงค์ เอื้อวิชญาแพทย์. โรคระบบประสาทที่พบบ่อยในเด็ก.ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา; 2551.

แนวทางปฏิบัติในการดูแลเด็กที่มีอาการชักจากไข้. ใน :แนวทางการรักษาโรคลมชัก. สมาคมโรคลมชักแห่ง
ประเทศไทย. 2549 : 51 - 4.

Freeman JM. Febrile seizures : a consensus of their significance, evaluation, and treatment. Pediatrics. 1980; 66 : 1009.

Waruiru C, Appleton R. Febrile seizures : an update. Arch Dis Child 2004; 89 : 751 - 76.

Nelson KB, Ellenberg JH. Predictors of epilepsy in children who have experienced febrile seizures. N Engl J Med 1997; 295 : 1029 - 33.

Jaffe M, Bar-Joseph G, Tirosh E. Fever and convulsions : indications for laboratory investigations. Pediatrics 1981; 67 : 729 - 31.

Shinnar S, Glauser TA. Febrile seizures. J Child Neurol 2002; 17 : 44 - 52.

American Academy of Pediatrics, Provisional Committee on Quality Improvement, Subcommittee on Febrile Seizures. Practice parameter : the neurodiagnostic evaluation
of the child with a first simple febrile seizure. Pediatrics 1996; 97 : 769 - 72.

Carroll W, Brookfield D. Lumbar puncture following febrile convulsion. Arch Dis Child. 2002; 87 : 238 - 40.

Kimia AA, Capraro AJ, Hummel D, Johnston P, Harper MB. Utility of lumbar puncture for first simple febrile seizure among children 6 to 18 months of age. Pediatrics 2009; 123 : 6 - 12.

Shaked O,Pena BM,Linares MY, Baker RL.Simple febrile seizures: are the AAP guidelines regarding lumbar puncture being followed? PediatrEmerg Care 2009;25 : 8-11.

Peltola H, Salo E, Saxen H. Incidence of Haemophilusinfluenzae type b meningitis during 18 years of vaccine use: observational study using routine hospital data. BMJ
2005; 330 : 18 - 19.

Whitney CG, Farley MM, Hadler J, et al. Decline in invasive pneumococcal disease after the introduction of protein-polysaccharide conjugate vaccine. N Engl J Med 2003;
348 : 1737 - 46.

Kyaw MH, Lynfield R, Schaffner W, et al. Effect of introduction of the pneumococcal conjugate vaccine on drug-resistant Streptococcus pneumoniae. N Engl J Med 2006; 354 : 1455 - 63.

Atabaki S, Ochsenschlager D. Post-lumbar puncture headache and backache in pediatrics: a case series and demonstration of magnetic resonance imaging findings. Arch PediatrAdolesc Med1 999; 153 : 770 - 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15