ผลของโปรแกรมการดูแลตนเอง ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ที่ใส่สายสวนท่อไต โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สำเริง ประสมศรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภายหลังการใส่สายสวนท่อไตของผู้ป่วยส่วนใหญ่ พบว่าผู้ป่วยไม่มาถอดสายสวนท่อไตตามกำหนดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ กับผู้ป่วย ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต จะช่วยลดอุบัติการณ์การไม่มาถอดสายสวนท่อไตตามกำหนด และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ กับผู้ป่วยได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไตระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง

รูปแบบและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest - posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม เลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการจับคู่กลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในตัวแปร เพศ และอายุ จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 30 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูล เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติอ้างอิง

ผลการศึกษา : พบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรม ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 29 = 8.614, p < .001) 2) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 36.46 = 28.58, p < .001)

สรุป : จะเห็นว่าโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต สามารถลดอุบัติการณ์การไม่มาถอดสายสวนท่อไตตามกำหนด และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ กับผู้ป่วยได้ ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์จึงควรได้มีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้ศึกษากับผู้ป่วยในเขตพื้นที่หรือโรงพยาบาลอื่นๆ ด้วย เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต และเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ : โปรแกรมการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนท่อไต

 

References

ปานจิตต์ เอี่ยมสำอาง. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรม การดูแลของผู้ดูแลและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง.วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลครอบครัว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2546.

Kelkar V., & Patil D. Management of forgotten double J stent and severe multiple large encrusted stones in the bladder and renal pelvis. CENTRAL EUROPEAN JOURNAL OF UROLOGY. 65(4), 238-241; 2012.

Nakada S., & Patel S. Placement and management of indwelling ureteral stents. [Online]. Available:https://www.uptodate.com/contents/placement-and-management-ofindwelling-ureteral-stents. (Access date: April 30, 2017.

Fraczyk L., & Godfrey H. Perceived levels of satisfaction with the preoperative assessment service experienced by patients undergoing general anesthesia in a day
surgery setting. Journal of Clinical Nursing. 19, 2849-2859 ; 2012.

Singh I., & et al. Severely encrusted polyurethane ureteral stents: management and analysis of potential risk factors. Urology. 58(4), 526-531;2001.

Barnes K. T., Bing M. T., & Tracy C. R. (2014). Do ureteric stent extraction strings affect stent - related quality of life or complications after ureteroscopy for
urolithiasis: a prospective randomised control trial. BJU international. 113(4), 605-609.

Ahallal Y., & et al. (2010). Risk factor analysis and management of ureteral double-J stent complications. REVIEWS IN UROLOGY. 12(2/3), e147-151.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยโรงพยาบาลมหาสารคาม. สถิติและข้อมูลกิจกรรมการบริการปีงบประมาณ 2558. วันที่ค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2559, เข้าถึงได้จากhttp://www.dtc.mhkdc.
com/index.php?mod=report; 2559.

ทัศนีย์ กลิ่นหอม. การพัฒนาการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ใส่สาย DJ stent ทีม PCT Uro โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 10 เรื่องการจัดการภาวะฉุกเฉินและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ วันที่ 19-20พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมเอสดีอเวนิวกรุงเทพมหานคร. ชมรมพยาบาลระปัสสาวแห่ง
ประเทศไทยร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชและสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

ทัศนี ศิริรัตนประพันธ์. การเปรียบเทียบก่อนและหลังลงทะเบียนเพื่อป้องกันการลืมถอดสายระบายน้ำปัสสาวะในท่อไต คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 10 เรื่อง การจัดการภาวะฉุกเฉินและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ วันที่ 19-20พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว
กรุงเทพมหานคร. ชมรมพยาบาลระปัสสาวะแห่งประเทศไทยร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชและสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.

Orem D. E., Renpenning K. M., & Taylor S. G.Self-care Theory in Nursing. New York :Springer Publishing Company, Inc.; 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15