คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ตำบลบ้านดงหวาย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตใช้ KDQOL-SFTM Version 1.3 ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 20 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 อายุเฉลี่ย 63.44 ปี (SD = 9.62) มีสถานะภาพสมรส ร้อยละ 65 การศึกษาส่วนมากระดับประถมศึกษาร้อยละ 75 สิทธิ์การรักษาส่วนมากเป็นบัตรทอง ร้อยละ 70 ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 54.49, SD = 20.67) กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 54.56, SD = 25.92)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตมีคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับปานกลาง แต่พิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้านพบว่ายังมีด้านที่ต่ำ และต่ำมาก ที่จำเป็นต้องวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ : คุณภาพชีวิต, โรคไตเรื้อรัง, การบำบัดทดแทนไต
References
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. Current Situation of ChronicKidney Disease in Thailand สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย วารสารกรมการแพทย์ฉบับประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม, 2558 :5-18.
นฤมล แก่นสาร. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;12(2) : 81-91
พนิดา เทียมจรรยา, ชมนาด วรรณพรศิริ, ดวงพรหุ่นตระกูล. การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(3) : 92-103.
ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์, อรวมน ศรียุกตศุทธ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, นพพร ว่องสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2558; 7(3) : 37-48.
กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2559; 4(4) : 485-503.
ณัฐวรา ทัศบุตร, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, สุพัตรา บัวที.รูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.2556; 31(4) : 89-96.
สมพร ชินโนรส, ชุติมา ดีปัญญา. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด. วารสารเกื้อการุณย์ 2556; 20(1): 5-14.
Ramya S, Aruna S, Mangala GP. Quality of life and chronic renal failure. International journal of development research. 2017; 7(9) :15524-15526.
นลิตา เหลาแหลม, พรมมินทร์ ไกรยสินธ์, วัชรียา ปาละกุล, อภิรดา ฉิมพาลี, กัตติกา หาลือ, วีระพล จันทร์ดียิ่ง. ประเมินคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ป่วยฟอกเลือดล้างไตและล้างไตทางช่องท้อง ณ โรงพยาบาล พะเยา. วารสารนเรศวรพะเยา. 2557; 7(2) : 172-177.
ขนิษฐา หอมจีน. ความเที่ยงและความตรงของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในโรคไตฉบับย่อภาษาไทย(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). 2552 : สืบค้นวันที่ 4 มีนาคม 2561, จาก http://www.tnrr.in,th/? page=result_search&record_id=201809
อุทุมพร ขำคม, นันทิยา วัฒายุ, ดวงใจ รัตนธัญญา.ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง.วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2558; 27(2) : 60-71.
จำรัส สาระขวัญ, สุนทรี สิทธิสงคราม, มาลินี บุญเกิด,สุกัญญา กระเบียด, มาลี มีแป้น. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2560; 28(2) : 153-164.
รุ้งลาวัลย์ ยี่สุ่นแก้ว, สุรชาติ ณ หนองคาย, ชัยรัตน์ ฉายากุล, ดุสิต สุจิรารัตน์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดกรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วชิรสารการพยาบาล.2559; 18(1) : 79-90.
คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้องต่อเนื่อง. 2550; 25(3) : 171-177.
ชัชวาล วงค์สารี, พลตรีหญิง อรนันท์ หาญยุทธ.การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2557; 6(2) : 220-233.
Tomazou C, Charalambous G, Jelastopula E. Quality of life in patients with chronic kidney disease: A cross-sectional stydy comparing patients on hemodialysis, peritoneal dialysis and with kidney transplantation. British journal of medicine & Medical research. 2015; 8(6) :516-525.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม