ลักษณะความพิการ และความต้องการของคนพิการ ในพื้นที่ 5 ตำบลนำร่อง จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
บทนำ : จากสถิติจำนวนคนพิการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่การจัดสรรทรัพยากรมีขีดจำกัด ซึ่งในจังหวัดขอนแก่นยังไม่เคยมีการวิเคราะห์ลักษณะความพิการ และความต้องการของคนพิการมาก่อน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะความพิการ และความต้องการของคนพิการ ในพื้นที่ 5 ตำบลนำร่อง จังหวัดขอนแก่นวิธีดำเนินการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจากแบบสอบถามรหัสบัญชีสากล (The International Classification of Functioning, Disability and Health, ICF)
ผลการศึกษา : จากข้อมูลคนพิการในพื้นที่ 5 ตำบล จังหวัดขอนแก่นจำนวน 925 ราย พบว่าคนพิการอายุเฉลี่ย 56.5+20.3 ปี (2-102 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.9% ประเภทของความพิการทางกายเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด ร้อยละ 46.0 รองลงมาคือ การได้ยิน ร้อยละ 18.9 และการมองเห็น (13.5%) ตามลำดับ ลักษณะความพิการที่พบว่ามีข้อจำกัดจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ ด้านการเดิน ร้อยละ 8.8 รองลงมา คือ ด้านความจำ ร้อยละ 5.6 ส่วนความต้องการของคนพิการพบว่าต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมากที่สุด ร้อยละ 65 ความต้องการรองลงมา คือ ต้องการทำงาน ร้อยละ 19.1 ต้องการสิ่งแวดล้อมอำนวยความสะดวก ร้อยละ 16 และต้องการอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น ไม้เท้า รถเข็น ร้อยละ 15.7 ตามลำดับ
สรุปผล : คนพิการในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว ต้องการความช่วยเหลือด้านการเดินมากที่สุด และต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ดังนั้นการจัดบริการทางสาธารณสุขแบบองค์รวมร่วมกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อคนพิการในการเข้าสังคมจึงเป็นส่วนที่ควรให้การช่วยเหลือเป็นอันดับแรก
คำสำคัญ : ลักษณะความพิการ, ความต้องการของคนพิการ, จังหวัดขอนแก่น
References
History of Disability and the United Nations [Internet]. New York: UNITED NATIONS DEPARTMENT OF ECONOMIC AND SOCIAL AFFAIRS;2018. [cited 2018 Jan 23]. Available from:https://www.un.org/development/desa/disabilities/about-us/history-of-disability-andthe-united-nations.html
WHO. International Classification of Functioning,Disability and Health (ICF) [Internet]. WHO;C2018. [cited 2018 Jan 1]. Available from :
http://www.who.int/classifications/icf/en/
World Health Organization. World report on dis ability 2011 [Internet]. WHO;c2011. [cited 2018 Jan 1]. Available from: http://www.who.int/disabilities/ world_report /2011/report.pdf
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความพิการในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ; 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2560].จาก: http://dep.go.th/sites/default/files/files/news
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสำรวจความพิการ พ.ศ. 2555 :The 2012 Disability Survey [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ; 2557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2559]. จาก http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/service/survey/disabilityRep_55.pdf
ศิรินาถ ตงศิริ. แนวทางการนำฐานข้อมูลสมรรถนะของคนพิการไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข;2556 : 7(1):99-113.
Petersson I, Lilja M, Hammel J, Kottorp A. Impact of home modification services on ability in everyday life for people ageing with disabilities. J Rehabil Med; 2008 :40(4) 253-60.
Bridge C, Phibbs P, Gohar N. & Chaudhary K. Evidence Based Research Bulletin: Identifying barriers to home modifications. Sydney: Home Modification Information Clearinghouse, University of Sydney;2007. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2560]. จาก: https://www.homemods.info/resources/hminfo-research-publications/evidence/identifying-barriers-to-home-modifications-systematic-review
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม