ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานควบคุมที่ไม่ได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาดสาขา สอง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ( Case-control study ) จำนวน 201 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 134 คน กลุ่มศึกษา 67 คน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและโดยอาศัยข้อมูลจาก HoSxP และเวชระเบียนร่วมด้วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่า Frequency,Percentage, Mean วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ คือ Pearson Chi square, independent T-Test, Mann-Whitney U test
ผลการศึกษา : ปัจจัยที่สัมพันธ์แบบมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติกับภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้ (โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ อายุ พบว่า คนที่อายุมากกว่าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าคนที่มีอายุน้อย จำนวนเม็ดยาที่ต้องรับประทานทั้งหมดต่อวันมากกกว่าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าจำนวนเม็ดยาที่ต้องรับประทานต่อวันน้อยกว่าการลืมรับประทานหรือฉีดยาเบาหวานมากกว่า 3 ครั้ง/เดือน การตั้งใจปรับยาเบาหวานเองนอกเหนือจากที่แพทย์สั่งการรับประทานคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากกว่า 9 ส่วนต่อวันมากกว่าหรือเท่ากับ 2 วันต่อสัปดาห์ การรับประทานเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากกว่าหรือเท่ากับ 2 วันต่อสัปดาห์ การรับประทานผลไม้มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ส่วนต่อวันมากกว่าหรือเท่ากับ 2 วันต่อสัปดาห์ การใช้ยาเบาหวานแบบรับประทานและแบบฉีดร่วมกัน การคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วยคำถาม 2Q แล้วผล positive
สรุป : มีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การให้ความรู้ความเข้าใจในตัวโรคและการรักษารวมทั้งการจัดการความเครียดจึงมีความสำคัญ
คำสำคัญ : ปัจจัย , โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถิติเบาหวานทั่วโลก. สถิติปีที่ 2558.2559. (cited 2016 mar 26 ).Available from: http://www.diabassocthai.org/statistic/1558.
วิชัย เอกพลากร และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย; 2559.
สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. ทักษพลธรรมรังสี, วีรนุช ว่องวรรธนะกุล, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, editors. นนทบุรี : สำ
นักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2557.
Crowley MJ, Holleman R, Klamerus ML, Bosworth HB, Edelman D, Heisler M. Factors associated with persistent poorly-controlled diabetes mellitus (PPDM): clues to improving manage ment in patients with resistant poor control. Chronic Illn. 2014 Dec; 10(4):291-302.
Juarez DT, Sentell T, Tokumaru S, Goo R, Davis JW, Mau MM. Factors associated with poor glycemic control or wide glycemic variability among diabetes patients in Hawaii, 2006-2009. Prev Chronic Dis. September 2012; 9: 151.
ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม, ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2556: 6(3) 102-109.
อุสา พุทธรักษ์ , เสาวนันท์ บำเรอราช. ที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. 34th International graduate research conference ; 2558 :989-1000.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม