ผลของการให้การพยาบาลระบบสนับสนุนในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลังการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่นอนโรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Research) แบบแผนการทดลองเป็นแบบศึกษากลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง (One group pretest-posttest design ระหว่างวันที่ 1 พ.ย.60 – 30 ธ.ค. 60 จำนวน 30 รายโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test
ผลการวิจัย : พบว่า ความรู้ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ <0.001โดยที่ค่าเฉลี่ยภายหลังการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน สูงกว่าก่อนการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าค่าเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ<0.001โดยที่ค่าเฉลี่ยภายหลังการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน สูงกว่าก่อนการให้การพยาบาลระบบสนับสนุน การให้การพยาบาลระบบสนับสนุน สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความรู้มากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการดูแลตนเองได้ในระดับที่ดีขึ้น
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรนำการพยาบาลระบบสนับสนุนมาใช้ในการปรับเปลี่ยนความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน การกลับเป็นซ้ำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
คำสำคัญ : การพยาบาลระบบสนับสนุน, การดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
References
สถาบันประสาทวิทยา .กายภาพบำบัดในระบบประสาท.กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์;25 50.
อุไร ศรีแก้ว.การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ การดูแลอย่างต่อเนื่อง พิมพ์ครั้งที่ 2 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
พัชรินทร์ ละมุลตรี .การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2555 ;9 (3):52-59
ทรรศตวรรณ เดชมาลา และศิริพร ศรีชะตา.พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีโรงพยาบาลมหาสารคาม, วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ,2555; 9(1) 11-17
วาสนา มูลฐี .ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแล ระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจ ของผู้ป่วย.วารสารสภาการพยาบาล,2559; 31 (1):101-116
วิยะการ แสงหัวช้าง. ผลของการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม และการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า,2556; 30 (4)4:260-272
จินดา รัตนกุล ภัชราภร บุญรักษ์ ประไพ บุญย์เจริญเลิศ. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ของผู้ดูแลต่อความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารกองการพยาบาล. 2556;40 (1): 9-23
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม