ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อผลกระทบในการบันทึกข้อมูล ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อผลกระทบในการบันทึกข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อของทีมสหวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบันทึกข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ จังหวัดร้อยเอ็ด
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาแบบ Cross sectional study จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบันทึกและส่งออกข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ จำนวน 98 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ เจตคติเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ การปฏิบัติเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อผลกระทบในการบันทึกข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบ Chi-Square test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson ‘s Correlation Coefficient
ผลการวิจัย : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบันทึกและส่งออกข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 43) มีเจตคติเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และการปฏิบัติตัวด้านการบันทึกข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อในระดับปานกลาง ( ร้อยละ 55, 58 ตามลำดับ) และพบว่าบุคลากรขาดความรู้ในการบันทึกข้อมูล ( =3.46) บุคลากรไม่เพียงพอต่อภาระงาน (=3.42) ไม่มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูล (=3.20) ความตระหนักรู้ต่อผลกระทบในการบันทึกข้อมูลมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ในการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุ ติดเชื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 อายุ ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และความรู้เกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับน้อย (r =.340 , p =.001 และ r =.211, p=.035 ตามลำดับ ) ระดับเจตคติ ระดับความรู้ และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ในระดับน้อย (r =.306 , p=.002 และ r=.377, p =.001 ตามลำดับ) ระดับความรู้ และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับน้อย (r=.377, p=.001)
สรุป : ความตระหนักรู้ต่อผลกระทบในการบันทึกข้อมูล มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ ในการจัดการข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ อายุ ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และความรู้เกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ มีความสัมพันธ์กันกับ ระดับเจตคติ ระดับความรู้ และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
คำสำคัญ : การบันทึกข้อมูล, ความตระหนักรู้, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis)
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูล ในสถานพยาบาล พ.ศ.2559.พิมพ์ครั้งที่1 สำนักพิมพ์กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศีกในพระราชูปถัมภ์; 2559.
รุ่งทิวา พานิชสุโข. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (21 แฟ้มมาตรฐาน) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์; 2557.
อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ.ชีวสถิติ.พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2542.
รติยา วิภักดิ์, นิรุวรรณ เทรินโบล์, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560 ; 4 (ฉบับพิเศษ)
ชื่นจิต หร่ายลอย. ความถูกต้องของข้อมูล 18 แฟ้ม ของสถานีอนามัย จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2551.
สุจรรยา ทั่งทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านสุขภาพ (21 แฟ้ม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 25561(3) : 37-47.
วิทยา พลาอาด , เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง. ศึกษาระดับคุณภาพข้อมูลปัจจัย ที่สัมพันธ์กับคุณภาพข้อมูล ปัจจัยที่พยากรณ์คุณภาพข้อมูลและปัญหาอุปสรรคในการจัดทำแฟ้ม สุขภาพครอบครัว; 2554.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ.พฤติกรรมสุขภาพองค์รวม เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษา หน่วยที่ 1-7 กรุงเทพฯ:อรุณการพิมพ์; 2535.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม